ประวัติความเป็นมาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ” เป็นหน่วยงานที่พัฒนามาจาก  “ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ” ที่ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย รัฐบาลสหรัฐอเมริกา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่003

และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ เมื่อปี พ.ศ.2510 โดยได้รับทุนสนับสนุนด้านครุภัณฑ์ติดอาคารจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และทุนสนับสนุนในการดำเนินการจัดตั้งและดำเนินการวิจัย

จากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา(US NIH) ให้ดำเนินงานวิจัยเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยมีคณะผู้วิจัยและผู้บริหารหลักเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ จากนั้นได้ส่งมอบให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ

ได้รับการยกฐานะให้เป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งเป็นส่วนงานระดับคณะในวันที่ 11 ตุลาคม 2521

ในปี พ.ศ.2508 รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นได้มีโครงการความช่วยเหลือด้านวิชาการ
การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชากรในประเทศภาคพื้นเอเชียอาคเนย์และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ  “US-JAPAN Cooperative Medical Sciences Program”
คณะกรรมการได้มีมติดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะประเทศที่ด้อยพัฒนาในภาคพื้นเอเชีย และได้เชิญ
Professor Robert E. Olsen หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นให้เป็นผู้รับผิดชอบเสนอโครงการ
ขอรับทุนจาก National Institute of Health (NIH) เพื่อจัดตั้งศูนย์วิจัยคลินิกที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ในปี พ.ศ.2509 NIH ได้อนุมัติข้อเสนอโครงการที่ Professor Olsen เสนอไปในขั้นต้นเป็นเวลา 5 ปี
โดยมีเงื่อนไขในการให้ทุนดังนี้
1. รัฐบาลไทยจะต้องเห็นชอบและให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณในการก่อสร้างอาคารวิจัย
2. มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) จะต้องเป็นผู้รับรองให้การสนับสนุนครุภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งกับอาคาร เช่น เครื่องทำความเย็น ห้องเย็นและอื่นๆ ของอาคารศูนย์วิจัย
3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความเห็นชอบและความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์วิจัย


 IMG_6534      004  เมื่อรัฐบาลไทยและหน่วยงานข้างต้นยอมรับเงื่อนไขในเดือนเมษายนปี พ.ศ.2510 ต่อมาในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน NIH ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการช่วงแรก จึงถือเป็นกำเนิดของศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการมีการตั้งคณะผู้วิจัยเพื่อปฏิบัติงานประจำศูนย์วิจัยฯ โดยมี Professor Olsen ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ Dr. Jo Anne Whitaker เป็นผู้อำนวยการภาคสนาม และ Mr. Donald Gibsonเป็นหัวหน้างานบริหารทั่วไป รวมทั้งได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศในสาขาต่างๆ เพื่อมาปฏิบัติงานประจำที่ศูนย์วิจัยฯ จากนั้นศูนย์วิจัยฯ ได้ดำเนินการจ้างบุคลากรไทยที่มีความรู้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในแผนกต่างๆได้แก่ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล นักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ นักโภชนาการ พนักงานขับรถและเจ้าหน้าที่ธุรการ ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์ได้แต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ นพ.อาวุธ  ศรีศุกรี เป็นหัวหน้าคณะผู้วิจัยฝ่ายไทยและมีรองศาสตราจารย์ พญ.อุษา ธนังกูล เป็นผู้ประสานงานระหว่างคณะแพทยศาสตร์และศูนย์วิจัยฯ ระยะแรกของการเริ่มดำเนินการศูนย์วิจัยฯ ยังไม่มีอาคารเพื่อการปฏิบัติงาน ทางคณะแพทยศาสตร์จึงได้ให้ความร่วมมือโดยให้ใช้พื้นที่บางส่วนของตึกกุมารเวชศาสตร์เพื่อจัดเป็นหอผู้ป่วย ห้องปฏิบัติการทางโลหิตวิทยาและหน่วยธุรการ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการของหน่วยมาลาเรีย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงในบริเวณคณะแพทยศาสตร์ก็ได้ให้ความอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

         ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2511 มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเรื่องการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยคลินิกที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยให้ชื่อว่า “ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ (Anemia and  Malnutrition Research Center เรียกย่อว่า MALAN)ศูนย์วิจัยฯ ได้ยื่นเสนอแบบการก่อสร้างอาคารให้รัฐบาลไทยเป็นผู้พิจารณาอนุมัติงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขการรับทุนของ NIHในวันที่ 19 สิงหาคม 2511 รัฐบาลไทยได้อนุมัติแบบแปลนการก่อสร้างอาคารและอนุมัติงบประมาณก่อสร้างเป็นวงเงิน 9,000,000 บาท โดยที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์สนับสนุนทุนอีก 12,000,000 บาทเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ยานพาหนะ และเครื่องมืออื่นๆ บางส่วน ส่วนมหาวิทยาลัยเซ็นต์หลุยส์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการขอรับทุนการดำเนินงานวิจัยจาก NIH ในระยะเวลา 10 ปี


photo-a03

         พิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยฯ ในบริเวณคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม 2512 อาคารศูนย์วิจัยฯ ถูกออกแบบให้มีความทันสมัยเมื่อเทียบกับปีที่ก่อสร้างเป็นอาคารที่มีระบบทำความเย็นทั้งอาคารและมีความพร้อมสำหรับการดำเนินงานวิจัยในมาตรฐานของประเทศทางตะวันตก ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการชีวเคมี ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาที่มีเครื่องมือสำหรับการวิจัยในห้องปฏิบัติการ หอผู้ป่วยซึ่งเป็น Metabolic Unit ของ คนไข้เด็ก ห้องพักสำหรับผู้ใหญ่ที่ร่วมการวิจัย ห้องเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ในการทดลอง ห้องผ่าตัดสำหรับผ่าตัดสัตว์ในการวิจัย

เมื่อการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยฯ พร้อมการติดตั้งเครื่องมือต่างๆ ได้แล้วเสร็จ พร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน02_รูปนี้แทนรูปเดิม

จึงได้มีพิธีการเปิดอาคารอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ

บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เป็นองค์ประธานเปิดอาคารศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการผู้เข้าร่วมรับเสด็จใน

พิธีเปิดอาคารประกอบด้วย Professor Olsenผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้บริหารและคณะผู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้แทนรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา

และผู้แทนรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น


08

Professor Olsen ได้ใช้โอกาสนี้ในการแนะนำศูนย์วิจัยฯ ให้นักวิชาการจากทั่วโลกได้รู้จักโดยการจัดให้มีการประชุมนานาชาติ

International Symposium on Protein – Calorie Mulnutritionระหว่างวันที่ 8-11 มกราคม09 2516 ณ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเวลาก่อนการประชุม Asia Congress of Nutrition ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 12 มกราคม 2516เพื่อให้ผู้บรรยายและผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นนักวิชาการจากทั่วโลกสามารถเดินทางมาประชุมที่เชียงใหม่ก่อน ในการประชุมInternational Symposium on Protein – Calorie Mulnutrition ที่จัดโดยศูนย์วิจัยฯ นี้ ได้เชิญนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกมาร่วมบรรยายและเสนอผลงาน ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย อังกฤษ เลบานอน จาไมก้าอเมริกาใต้ กัวเตมาลา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งประกอบด้วยศูนย์วิจัยฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข SEATO Lab และผู้แทนจากองค์การอาหารและโภชนาการอื่น ๆ ในการประชุมครั้งนี้ศูนย์วิจัยฯได้นำผู้เข้าร่วมการประชุมเข้าเยี่ยมชมหน่วยงานต่างๆ ในอาคารศูนย์วิจัยฯ นับเป็นการแนะนำการดำเนินงานของศูนย์วิจัยฯ ให้นักวิชาการทั่วโลกได้รู้จักอย่างเป็นทางการหลังจากเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2510


การจัดตั้งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการได้ดำเนินงานวิจัยโดยคณะผู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ร่วมมือกับคณะผู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำให้ศูนย์วิจัยฯ สามารถดำเนินการศึกษาวิจัยปัญหา สาเหตุ โรคแทรกซ้อน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายของผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคขาดอาหาร โรคโลหิตจางของหญิงมีครรภ์ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างทุโภชนาการกับการเกิดโรคติดเชื้อ โดยได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยดังกล่าวและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติศูนย์วิจัยฯ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เรื่องการใช้วิตามินเอขนาดเดียวกันในปริมาณสูงในหญิงแรกคลอดเด็กแรกเกิดและเด็กในวัยเรียนเพื่อป้องกันการเกิดตาบอดอันเนื่องมาจากการขาดวิตามินเอ นอกจากนี้ยังได้นำผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่ขาดอาหารอย่างรุนแรง ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคขาดสารอาหารจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 5 ซึ่งนับได้ว่าศูนย์วิจัยฯ มีศักยภาพในการดำเนินงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามก่อนโครงการความร่วมมือนี้จะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2519 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เตรียมแผนงานที่จะรับช่วงการดำเนินงานของศูนย์วิจัยฯ ต่อ โดยเสนอโครงการขยายและปรับปรุง ยกฐานะให้ “ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ” เป็น “สถาบันวิจัยคณะแพทยศาสตร์” ในปี พ.ศ. 2517 โดยได้เสนอโครงการดังกล่าวให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 และได้รับงบประมาณสำหรับการดำเนินงานในช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งรวมถึงการบรรจุบุคลากรที่เป็นลูกจ้างของศูนย์วิจัยฯ ให้เป็นข้าราชการ

10
11
Front_2001


วัตถุประสงค์และนโยบายในการดำเนินงาน

    1. ดำเนินการสนับสนุน และเป็นแหล่งดำเนินงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนและปัญหาสาธารณสุขของ ประเทศ โดยเฉพาะชุมชนในเขตภาคเหนือ
    2. ร่วมมือและประสานงานการวิจัยระหว่างสถาบันฯ กับคณะต่าง ๆ ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในลักษณะของการวิจัยร่วมสาขากับนักวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
    3. พัฒนาแนวทางการวิจัยให้สอดคล้องกับแนวนโยบายการวิจัย ของมหาวิทยาลัยและของชาติ โดยทำการศึกษา และวิจัยเพื่อให้ได้ผลงานที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชน และเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภายในและต่างประเทศเพื่อร่วม ดำเนินการวิจัยในการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เผชิญอยู่ใน ปัจจุบันในด้านความพร้อม สำหรับการดำเนินงานวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้มีการพัฒนาทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์จำเป็นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
    4. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนางานทางด้านวิชาการและด้านวิจัย จัดให้มีการประชุมสัมมนา เพื่อเปิดโอกาส ให้คณาจารย์และนักวิจัยด้านต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ ร่วมกันเพื่อให้สามารถนำไปสู่การจัดการและร่วมมือกันในการศึกษาและวิจัยได้ ในอนาคต
    5. เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลสถิติจากผล งานวิจัย ปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆ อย่างมีระบบเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล อย่างรวดเร็วและทันสมัยระหว่างนักวิชาการ ทั้งในและนอกประเทศได้
    6. เผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อยังประโยชน์แก่สังคม จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยที่สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อชุมชน
    7. สนับสนุนการวิจัยขั้นบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สนับสนุนให้มีผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันฯ เพื่อรองรับและพร้อมให้การสนับสนุนการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
    8. ให้คำปรึกษา สอน ฝึกอบรมในด้านการวิจัย การควบคุมคุณภาพงาน การวิเคราะห์สารเคมีสถาบันฯ มีความพร้อมในด้านบุคลากรและfacilitiesพร้อมให้ความร่วมมือ ในการฝึกอบรมงานด้านการวิจัย ตลอดจนงานตรวจวิเคราะห์สารเคมีและงานควบคุมคุณภาพงานวิเคราะห์ให้แก่บุคลากร ทุกระดับ จากทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย