กิจกรรมวิชาการ.

P1362870

โครงการคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีเป้าหมาย เพื่อ สังคมมีความสุข สร้างสุขต่อสังคม (Social Contribution) ส่งผลให้ คนในสังคมปลอดภัย มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยเน้นแก้ไขปัญหาที่เกิดกับสุขภาพของคนชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องตามแผนพัฒนาที่ 13 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ การรับใช้สังคม การดำเนินกิจกรรมดังกล่าว จะมุ่งเน้นปัญหาสุขภาพของชุมชนของภาคเหนือ โดยเฉพาะปัญหา PM2.5 โดยดำเนินการมุ่งเน้นในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง โดยการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่อันได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ เพื่อส่งมอบเครื่องเติมอากาศ และฟอกอากาศให้กับเด็กภายในศูนย์เด็กเล็ก เพื่อเกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ในการสร้างลมหายใจที่ไร้ฝุ่นในช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 ที่สูง และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทางโครงการคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายจัดตั้งศูนย์คืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น อบจ. เชียงราย เพื่อเป็นศูนย์สาธิต และส่งมอบเครื่องฟอกอากาศ และเติมอากาศ ที่เรียกว่า “กล่องอากาศดี”  ใช้กับศูนย์เด็กเล็ก และกลุ่มเปาะบางในพื้นที่ โดยโครงการฯ ได้ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และศูนย์เยาวชนจังหวัดเชียงรายในการสืบค้นหาจำนวนศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และประเมินในเรื่องขนาดและพื้นที่ของแต่ละศูนย์เด็กเล็กร่วมกัน เพื่อจะคำนวณหาจำนวนเครื่องฟอกอากาศและเติมอากาศที่จะติดตั้งในแต่ละห้อง  และตัวแทนเยาวชนจังหวัดเชียงราย ได้เรียนรู้การประกอบกล่องอากาศดี และลงพื้นที่เพื่อดำเนินการด้วยตัวเองได้
Screenshot 2025-04-03 155023

  1. ประเด็นการมีส่วนร่วม

1. มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาหมอกควันและการป้องกันตนเองจากหมอกควัน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และป้องกันตนเองจากสถานการณ์หมอกควัน
2. มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เรามองไม่เห็น และแนะนำการใช้งานระบบแจ้งเตือนคุณภาพอากาศ NTAQHI เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศด้วยตนเองได้
3. จัดกิจกรรม“การจัดทำห้องคลีนรูม” โดยจัดให้มีการสาธิตการจัดทำเครื่องเติมอากาศ เครื่องฟอกอากาศ ให้กับคุณครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และผู้สนใจ แบ่งกลุ่มฝึกประกอบอุปกรณ์เครื่องเติมอากาศ เครื่องฟอกอากาศ DIY

  1. สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดำเนินการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาหมอกควันและการป้องกันตนเองจากหมอกควัน การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เรามองไม่เห็น และแนะนำการใช้งานระบบแจ้งเตือนคุณภาพอากาศ NTAQHI รวมไปถึงเป็นวิทยากรสาธิตการจัดทำเครื่องเติมอากาศ เครื่องฟอกอากาศ ให้กับคุณครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และผู้สนใจ
2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ช่วยในการสนับสนุนงบประมาณ การหาข้อมูลและประสานงานศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่ เพื่อคำนวณปริมาณพื้นที่เพื่อจัดหาเครื่องฟอกและเครื่องเติมอากาศ
3. ศูนย์เยาวชนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ส่งเยาวชนเข้าร่วมอบรมเพื่อเป็นแกนนำส่งต่อความรู้ในการจัดทำห้องปลอดฝุ่นให้กับประชาชนในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน จังหวัดเชียงรายทั้งหมด

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดำเนินการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาหมอกควันและการป้องกันตนเองจากหมอกควัน การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เรามองไม่เห็น และแนะนำการใช้งานระบบแจ้งเตือนคุณภาพอากาศ NTAQHI รวมไปถึงเป็นวิทยากรสาธิตการจัดทำเครื่องเติมอากาศ เครื่องฟอกอากาศ ให้กับคุณครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และผู้สนใจ

  1. ผลจากการมีส่วนร่วม

จากการดำเนินงานที่ผ่านมาโครงการคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่นเล็นเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานนพื้นที่ และเยาวชน ละคุณครูในศูนย์เด็กเล็ก ได้เข้ามามีบบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง การทำงานแบบบูรณาการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง แต่ยังสร้างความตระหนักรู้และความเข้มแข็งให้ชุมชนในการรับมือกับมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน โดยสามารถสรุปผลการมีส่วนร่วมได้ดังนี้

  1. ผลการมีส่วนร่วมของเยาวชน

–  เยาวชนกว่า 50 คน ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายได้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปและระดมความคิดเห็นมีการเสนอแนวคิดพัฒนากล่องอากาศดีให้ใช้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนากล่องอากาศดีรุ่นที่ 3 ที่ใช้เวลาประกอบลดลง 40% และใช้อุปกรณ์น้อยลง 30%
P1165635-2

P1165633-2 รุ่นที่1-01 รุ่นที่2-01 กล่องอากาศดีรุ่นที่ 3-01
  1. ผลการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

–  จัดการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการใน 4 อำเภอเป้าหมาย คืออำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ  จังหวัดเชียงราย

–  มีจำนวนผู้ใช้บริการเว็บไซต์ www.ntaqhi.info เพื่อตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศเพิ่มขึ้น

  1. ผลการมีส่วนร่วมของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

–  จัดการอบรมให้ความรู้โครงการคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น เพิ่มขึ้น 2 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมรวม 300 คน

–  พัฒนาคลิปวิดิโอในการประกอบเครื่องเติมอากาศ และฟอกอากาศที่เข้าใจง่ายขึ้น และนำไปศึกษาได้ด้วยตนเองได้ง่าย

–  สร้างระบบติดตามผลออนไลน์ผ่านทางไลน์กลุ่มได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มคุณครูในพื้นที่แม่สรวย กลุ่มคุณครูในพื้นที่เวียงป่าเป้า กลุ่มคุณครูในพื้นที่เชียงแสน และกลุ่มคุณครูในพื้นที่เชียงของ

  1. ผลการมีส่วนร่วมของครูในศูนย์เด็กเล็ก

–  ศูนย์เด็กเล็ก โดยคุณครูนำกล่องอากาศดีไปขยายผล

–  ได้รับแบบสอบถามความคิดเห็นจากคุณครูเพื่อพัฒนาโครงการในเรื่องของการอบรมควรมีการปฏิบัติที่มากขึ้น ทางโครงการได้เพิ่มเวลาการสอนภาคปฏิบัติที่นานขึ้น และให้คุณครูทุกท่านปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน

  1. ผลลัพธ์โดยรวม

–  สร้างเครือข่ายเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็ง จำนวน 50 คน

–  พัฒนาโมเดลการมีส่วนร่วมที่สามารถขยายผลไปยังจังหวัดอื่น ๆ  ในภาคเหนือได้

 

  1. การนำผลจาการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
    จากการวิเคราะห์ผลการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในโครงการฯ สามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานในระยะต่อไป ดังนี้
  1. การขยายการสื่อสารทางออนไลน์ให้เกิดการตะหนักรู้สถานการณ์ปัญหาหมอกควันและการป้องกันตนเองจากหมอกควัน โดย

–  พัฒนาช่องทางสื่อสารออนไลน์  โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดทำ Post ข้อความเพื่อกระตุ้นการตะหนักรู้สถานการณ์ปัญหาหมอกควันและการป้องกันตนเองจากหมอกควัน และขยายการรณรงค์(repost)ผ่านโซเชียลมีเดียโดยสร้างแฮชแท็กใหม่ 2-3 แฮชแท็ก โดย facebook ของศูนย์เยาวชนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

–  จัดทำคู่มือการประกอบกล่องอากาศดีรุ่นที่ 3 ในรูปแบบอินโฟกราฟิกและคลิปวิดีโอ ในระบบ youtube และ facebook เพื่อให้เยาวชนนำไปใช้และเผยแพร่ได้ง่ายขึ้น

  1. การขยายบทบาทขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

–  เพิ่มพื้นที่ดำเนินการ จาก 4 อำเภอเป็น 6 อำเภอในปีต่อไป โดยเน้นพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูงเป็นพิเศษ

  1. การสนับสนุนครูในศูนย์เด็กเล็ก

–  จัดตั้งคลังอุปกรณ์พื้นฐาน ในศูนย์เด็กเล็กเพื่อสนับสนุนการทำกล่องอากาศดีอย่างต่อเนื่อง

–  พัฒนาระบบพี่เลี้ยง โดยให้ครูที่มีประสบการณ์แล้วเป็นที่ปรึกษาให้กับครูใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ

การขยายผลสู่พื้นที่อื่น

–  จัดทำคู่มือขยายผลโครงการ สำหรับใช้ในจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ โดยปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่

–  สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างจังหวัด ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน

–  พัฒนาระบบการสื่อสารระหว่างเครือข่าย ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ใช้งานง่าย

การปรับปรุงเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้โครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยังคงยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนในจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

 

………………………………………………………………………………………………..

ข่าวโดย หน่วยประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Post 89 Views