สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จับมือ 4 พันธมิตรมูลนิธิเวชดุสิตฯ โรงพยาบาลกรุงเทพ- เชียงใหม่ โรงพยาบาลกรุงเทพ- เชียงราย และบริษัทลลิตา แพ็คเกจจิ้ง จำกัด นำโดย ศ. นพ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผู้อำนวยการสถาบันฯ ร่วมส่งมอบกล่องอากาศดีให้กับศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่ อำเภอเมือง จ. เชียงใหม่ ภายใต้โครงการ “คืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น”เพื่อส่งมอบเครื่องฟอกอากาศ และเติมอากาศ ณ อาคารอเนกประสงค์ศูนย์ฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสุเทพ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566

กิจกรรมครั้งนี้เป็นการเปิดตัวโครงการ “คืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น” โดยมีนายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิด รศ. บุญลือ เผือกผ่อง รองนายกเทศบาลตำบลสุเทพ กล่าวให้ความต้อนรับ ศ. นพ ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ กล่าววัตถุประสงค์ของการจัดงาน และภาคีความร่วมมือ มูลนิธิเวชดุสิตในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บริษัทลลิตา แพคเกจจิ้ง จำกัด และโรงพยาบาลกรุงเทพเ-ชียงใหม่ โรงพยาบาลกรุงเทพ-เชียงราย







ในการสร้างห้องปลอดฝุ่นครั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนฤดูหมอกควันที่จะมาถึงในปีนี้ โดยจัดทำในพื้นที่ จ. เชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ 145 ศูนย์เด็กเล็ก 305 ห้อง จำนวนเครื่องฟอก และเครื่องเติมอากาศจำนวน 607 เครื่อง
โดยกิจกรรมในวันนี้ ได้มีการจัดทำ กล่องอากาศดี หรือเครื่องเติมอากาศและฟอกอากาศแบบ DIY เพื่อส่งมอบให้กับศูนย์เด็กเล็กจำนวน 12 แห่ง ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเชียงใหม่








“โครงการคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่นให้กับเด็ก” เพื่อให้เด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอากาศที่บริสุทธิ์ในการหายใจและเพื่อสร้างความตระหนักในอันตรายของมลพิษฝุ่นพีเอ็ม 2.5 โดยมีเป้าหมายในการจัดทำคลีนรูมหรือห้องปลอดฝุ่น ให้กับห้องเรียนมากกว่า 270 ห้อง และมีแผนจะขยายการดำเนินการเพิ่มเติมในอนาคต ทั้งนี้จะมีการสาธิตการจัดทำพัดลมฟอกอากาศ DIY พร้อมมอบอุปกรณ์การทำคลีนรูมเพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ สามารถดำเนินการด้วยตนเองต่อไป


















































โดยกิจกรรมในวันนี้ ได้มีการจัดทำ กล่องอากาศดี หรือเครื่องเติมอากาศและฟอกอากาศแบบ DIY เพื่อส่งมอบให้กับศูนย์เด็กเล็กจำนวน 12 แห่ง ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเชียงใหม่





…………………………………………………….
ข่าวโดย หน่วยประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่