ชื่อโครงการวิจัย : การใช้เทคโนโลยีล่าสุดร่วมในการรักษาผู้ที่มีภาวะล้มเหลวในการควบคุมปริมาณ เชื้อไวรัสในกลุ่มประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด
Study name : Management Using the Latest Technologies in Resource-Limited Settings to Optimize Combination Therapy After Viral Failure (MULTI- OCTAVE)
เครือข่ายวิจัย (รหัสโครงการ) : A5288
Research network (Code) :
หัวหน้าโครงการวิจัย : ศ.นพ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ
Principle investigator : Professor Khuanchai Supparatpinyo, MD
หัวหน้าโครงการวิจัยร่วม : พญ. พัชรพรรณ สุคนธเวศ
Co-PI : Dr. Patcharaphan Sugandhavesa
หน่วยงานที่ร่วมวิจัย(Collaborators ) :
เครือข่ายการวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (AIDS Clinical Trial Group :ACTG Network)
แหล่งทุน (Funding agency) :
สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (The National Institute of Allergy and Infectious Diseases :NIAID)
สถานที่ทำการวิจัย (รวมต่างประเทศ) (Study sites):
มีกว่า 20 หน่วยวิจัยทั่วโลก ทั้ง ลาตินอเมริกา แอฟริกา และ เอเชีย (ประเทศไทยและอินเดีย)
ระยะเวลาเริ่มดำเนินงาน (เริ่ม intervention หรือ เริ่ม enroll อาสาสมัคร) Study start
เริ่มเปิดโครงการ : เปิดรับอาสามัครเข้าร่วมโครงการ เมื่อ 16 ธันวาคม 2556
เป้า หมาย : ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี อายุ 18 ปีขึ้นไปเป็นผู้ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัสกลุ่ม NRTIs, NNRTIs, และ PIs และปัจจุบันนี้ประสบความล้มเหลวในการรักษาด้วยยาที่มีสูตรยา PI จำนวน 500 คน ทั่วโลก สำหรับหน่วยวิจัยสถาบันวิจัยวทยาศาสตร์สุขภาพ รับจำนวน 30 คน
รูปแบบของงานวิจัย (Study design)
การ ศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะที่ 4 แบบเปิดฉลากมีการแทรกแซงและติดตามไปข้างหน้า การศึกษากลยุทธ ในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ดื้อยาทั้ง 3 กลุ่ม คือ nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs), non-NRTIs (NNRTIs), และ protease inhibitors (PIs)] และผู้ที่ล้มเหลวต่อการรักษาด้วยสูตรยาที่ใช้อยู่เพื่อประเมิน การใช้ยาชนิดใหม่ร่วมกับการวิธีจัดการที่ทันสมัย รวมถึงการวิเคราะห์ลักษณะพันธุกรรมของเชื้อดื้อยา การติดตามปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือด โดยผลการตรวจเชื้อดื้อยาและประวัติการได้รับยาต้านไวรัส จะมีการนำไปพิจารณาเพื่อจัดกลุ่มแบ่งอาสาสมัคร1 ใน 4 กลุ่ม มี 3 step
การเข้าร่วมโครงการใน Step I
ตารางแสดงแต่ละ Cohort ลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อดื้อยาและสูตรยาที่ใช้
Cohort |
ARV Resistance Profile |
Step 1 Study Regimen |
A |
ไม่ดื้อต่อ Pis และยังไวต่อ NRTIs อย่างน้อย 1 ตัว ไม่ว่า NNRTIs จะดื้อหรือไม่ก็ตาม หรือ เคยได้รับ RAL | ใช้ยาสูตร 2 ต่อไป ; อาจมีการปรับเปลี่ยน NRTIs ตามที่ทางโครงการสนับสนุน |
B |
ดื้อต่อ LPV/RTV แต่ไวต่อ DRV/RTV และ ETR และไม่เคยได้รับ RAL ไม่ว่าNRTIs จะดื้อหรือไม่ก็ตาม หรือ ดื้อต่อ NRTIs แต่ไวต่อ DRV/RTV และ ETR และไม่เคยได้รับ RAL |
B1: RAL 400mg วันละ 2 ครั้ง DRV 600 mg + RTV 100 mg วัยนละ 2 ครั้ง At least two best available NRTIs |
B2: ETR 200 mg วันละ 2 ครั้ง RAL 400 mg วันละ 2 ครั้ง DRV 600 mg + RTV 100 mg วันละ 2 ครั้ง |
||
B3: RAL 400 mg วันละ 2 ครั้ง DRV 600 mg + RTV 100 mg วันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ FTC 200 mg/ TDF 300 mg วันละครั้ง หรือ TDF 300 mg วันละครั้ง+ 3TC 150 mg วันละ 2 ครั้ง หรือ 300 mg วันละครั้ง(โครงการไม่สนับสนุน) |
||
C |
ดื้อต่อ LPV/RTV และและ ETR แต่ไวต่อ DRV/RTV และไม่เคยได้รับ RAL ไม่ว่าNRTIs จะดื้อหรือไม่ก็ตาม หรือ ดื้อต่อ ETR และ NRTIs แต่ไวต่อ DRV/RTV และไม่เคยได้รับ RAL |
RAL 400 mg วันละ 2 ครั้ง DRV 600 mg + RTV 100 mg วันละ 2 ครั้ง At least two best available NRTIs |
D |
ดื้อต่อ NRTI และ/หรือดื้อต่อ DRV/RTV หรือเคยได้รับ RAL มาก่อน | สูตรที่เหมาะสมที่สุด, ซึ่งอาจเป็นยาในโครงการ (study-provided) และ/หรือนอกโครงการ (locally obtained drugs) |
การศึกษาการใช้วิธีการเตือนการกินยาทางโทรศัพท์ร่วมกับการให้คำแนะนำเรื่องวินัยในการกินยาตามมาตรฐานการดูแลรักษา
กลุ่มอาสาสมัครแต่ละ cohort จะได้รับการสุ่ม 1:1 ให้ได้รับการจัดการเรื่องวินัยในการกินยา 2 กลุ่มได้แก่
กลุ่ม CPI+SOC |
Cell phone-based adherence intervention added to local standard of care การเตือนการกินยาทางโทรศัพท์ร่วมกับการให้คำแนะนำเรื่องวินัยในการกินยาตามมาตรฐานการดูแลรักษา |
กลุ่ม SOC |
Standard of care การให้คำแนะนำเรื่องวินัยในการกินยาตามมาตรฐานการดูแลรักษา |
การเข้าร่วมโครงการใน Step 2
เมื่ออาสาสมัครเกิด virologic failure ขณะอยู่ในโครงการ และอาสาสมัครยินดีที่จะอยู่ต่อในโครงการจะได้รับการตรวจเชื้อดื้อยาอีกครั้ง และเข้าสู่ Step2 cohort ตามผลลักษณะทางพันธุกรรมเชื้อดื้อยาที่ตรวจพบ
การเข้าร่วมโครงการใน Step 3
เมื่อ อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการใน Steps 1 และStep 2 สิ้นสุดลงแล้ว อาสามัครที่ได้รับยา Raltegravir (RAL), Darunavir (DRV), หรือ Etravirine (ETR) จะสามารถเข้าร่วมโครงการใน Step 3 โดยทาง
โครงการจะสนับสนุนยา ทั้ง 3 ตัว ต่อไปอีก 96 สัปดาห์ อาสาสมัครจะได้รับการนัดมาตรวจปีละ 2 ครั้ง ทางโครงการจะให้การดูแลตามมาตรฐานการดูแลรักษา
.4
สำหรับหน่วย วิจัยที่เข้าร่วมการศึกษาเรื่องวินัยในการกินยา อาสาสมัครจะได้รับการสุ่มเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการใช้วิธีการเตือน การกินยาทางโทรศัพท์ร่วมกับการให้คำแนะนำเรื่องวินัยในการกินยาตามมาตรฐาน การดูแลรักษา(Cell Phone-based adherence intervention plus local standard of care : CPI+SOC) และกลุ่มที่ให้คำแนะนำเรื่องวินัยในการกินยาตามมาตรฐานการดูแลรักษา (local standard of care : SOC)
วัตถุประสงค์ของการวิจัย (วัตถุประสงค์หลัก รอง)
1. วัตถุประสงค์หลัก (Primary objective)
เพื่อ ศึกษาการใช้ยาต้านไวรัสชนิดใหม่ล่าสุดควบคู่กับการใช้วิธีจัดการที่ทันสมัย เช่น การวิเคราะห์ลักษณะยีนเพื่อเลือกยารักษาสูตรที่ 3 ที่เหมาะสม การแทรกแซงเพื่อเพิ่มวินัยในการกินยาและการกำกับดูแลปริมาณเชื้อไวรัสใน กระแสเลือดโดยมีเป้าหมายในการควบคุมเชื้อไวรัสในอัตรา ≥ 65% เมื่อติดตามการรักษาที่ 48 สัปดาห์
2. วัตถุประสงค์รอง (Secondary objective)
2.1 เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงปริมาณของ HIV-1 RNA และ CD4+ T-cell counts เมื่อผ่านไป 48 สัปดาห์และความทนทานต่อการตอบสนองหลังจาก 48 สัปดาห์ รวมถึงผลของการรักษา(AIDS-defining และ non-AIDS-defining events, การนอนในโรงพยาบาล และการเสียชีวิต) ใน 4 กลุ่มการศึกษา (Cohorts A-D).
2.2 เพื่ออธิบายลักษณะความทนต่อสูตรยาใน 4 กลุ่มการศึกษา (Cohorts A-D).
2.3 เพื่ออธิบายลักษณะผลการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการเผาผลาญ ( metabolic outcome) ได้แก่ ระดับ fasting lipids ในสัปดาห์ที่ 48 ของแต่ละสูตรยา ใน 4 กลุ่มการศึกษา (Cohorts A-D)
2.4 เพื่อประเมินผลจากการใช้วิธีการเตือนการกินยาทางโทรศัพท์ร่วมการให้คำแนะนำ เรื่องวินัยในการกินยาตามมาตราฐานการดูแลรักษา (Cell Phone-based adherence intervention plus local standard of care : CPI+SOC) เปรียบเทียบกับ การให้คำแนะนำเรื่องวินัยในการกินยาตามมาตรฐานการดูแลรักษา (local standard of care : SOC) ในการควบคุมปริมาณเชื้อไวรัส เมื่อติดตามการรักษาที่ 48 สัปดาห์
2.5 เพื่อศึกษาความปลอดภัยของการใช้ยาต้านไวรัสสูตรรวมสูตรที่สาม ในด้านของอัตราการปรับเปลี่ยนการรักษาหรือหยุดการรักษาการติดเชื้อ HIV1 และลักษณะยาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพิษ
2.6 เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงปริมาณของ HIV-1 RNA และ CD4+ T-cell counts เมื่อผ่านไป 48 สัปดาห์และความทนทานต่อการตอบสนองหลังจาก 48 สัปดาห์ และผลการรักษา(AIDS-defining, non-AIDS-defining events และการเสียชีวิต) ระหว่างกลุ่มที่มีการใช้วิธีการเตือนการกินยาทางโทรศัพท์ร่วมการให้คำแนะนำ เรื่องวินัยในการกินยา (CPI + SOC) เปรียบเทียบกับ กลุ่มที่ให้คำแนะนำเรื่องวินัยในการกินยาเพียงอย่างเดียว.
2.7 เพื่อเปรียบเทียบความทนต่อยาสูตรที่สามในอาสาสมัครที่กลุ่มที่มีการใช้วิธี การเตือนการกินยาทางโทรศัพท์ร่วมกับให้คำแนะนำ (CPI+SOC) เปรียบเทียบกับ กลุ่มที่ให้คำแนะนำเรื่องวินัยในการกินยาเพียงอย่างเดียว (SOC)
2.8 อาสาสมัครกลุ่ม B (Cohort B) ที่ไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ศึกษาว่าการได้รับสูตรยารวมซึ่งประกอบด้วยยา ETR+DRV/RTV+RAL (etravirine, ritonavir-boosted darunavir, raltegravir) ตอบสนองต่อ CD4+ T-cell ดีขึ้น และความทนต่อยาได้ดีกว่าสูตรยา NRTIs+DRV/RTV+RAL หรือไม่
2.9 เพื่อศึกษาความชุกของการกลายพันธ์ของเชื้อที่ดื้อยา (resistance mutations) ในกลุ่มประชากรเมื่อแรกเข้าโครงการและ minority-variant level ใน 4 กลุ่มการศึกษา (Cohorts A-D) และศึกษาความชุกของ viral subtype
2.10 เพื่ออธิบายรูปแบบของการกลายพันธ์ (mutation) และการสะสมการกลายพันธ์ตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นในอาสาสมัครที่เกิด virologic failure
2.11 เพื่อประเมินผลกระทบของการพยากรณ์ ได้แก่ viral subtype, baseline mutations และ polymorphisms ที่เกิดขึ้นใน gag, protease, reverse transcriptase และ integrase (ได้จากการวิเคราะห์ population-based genotyping และ minority-variant) ต่อผลลัพธ์ทาง virologic ใน 4 กลุ่มการรักษา (Cohort A-D)
2.12 เพื่อประเมินความสัมพันธ์ด้านวินัยในการกินยาของสูตรยาที่ใช้ศึกษากับผลลัพธ์ทางด้านไวรัส (virologic outcome)
2.13 เพื่อให้การใช้ทรัพยากรและข้อมูลด้านคุณภาพชีวิต เพื่อใช้สนับสนุนแบบจำลองความคุ้มค่าของการเลือกใช้ยาต้านไวรัส โดยการใช้ประวัติการรักษาและลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อดื้อยา รวมถึงความคุ้มค่าเมื่อมีการแทรกแซงด้านวินัยในการกินยา
2.14 เพื่อประเมินอุบัติการณ์ของภาวะ immune reconstitution inflammatory syndrome (IRIS) และอธิบายด้านคลินิกที่พบรวมถึงเชื้อโรคที่เกี่ยวข้อง และ/หรือสภาวะการอักเสบ
2.15 เพื่อศึกษาระดับยา Darunavir (DRV) ในน้ำนมแม่
3. วัตถุประสงค์ทางเภสัชวิทยา
3.1 เพื่อประเมินค่าของ PK ของยา Darunavir/Ritongvir (DRV/RTV), Etravirine (ETR) and Raltegravir (RAL) ในอาสาสมัครที่อยู่ในกลุ่ม sub-cohort B2ที่ไม่ได้รับยา rifabutin (RBT) (Reference arm) และกลุ่มรับยา rifabutin (RBT) (test arm)
3.2 เพื่อใช้ในการปรับขนาดยาสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนในกลุ่ม sub-cohort B2 ที่มีความเข้มข้นของ
ระดับยา Etravirine (ETR) และ Raltegravir (RAL) น้อยกว่าค่าที่กำหนดหลังจากได้รับยา (Rifabuting)
RBT
3.3 เพื่อประเมินความปลอดภัยและความทนทานของยาสูตร DRV/RTV, ETR และ RAL เมื่อใช้ร่วมกับ RBT
3.4 เพื่อประเมินคุณลักษณะ PK ของยา RBT ในอาสาสมัครที่ได้รับยา RBT เพิ่มเติมจากสูตรยาต้านไวรัสไม่ว่าอาสาสมัครจะอยู่ใน cohort ใด
ความสำคัญ (Significance)
โครงการ ศึกษานี้เป็นการศึกษาหาสูตรยาต้านไวรัสสูตรที่สาม ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ล้มเหลวในการรักษากับยาสูตรที่ สอง โดยในการศึกษานี้จะมีการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีตัวใหม่หลายตัว ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการช่วยเรื่องวินัยในการกินยาของอาสาสมัคร โครงการการวิจัยนี้คาดหวังว่าจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งจะสามารถช่วยผู้ติด เชื้อเอชไอวีที่มีปัญหาดื้อยาหลายขนาน อีกทั้งอาสามัครที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการรักษาด้วยสูตรยาชนิดใหม่ซึ่งอาจมีประสิทธิผลดีกว่าสูตรยาชนิด เดิมที่อาสาสมัครใช้อยู่ในปัจจุบัน อาสาสมัครได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมออย่างใกล้ชิด และได้รับทราบข้อมูลและความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี
ความก้าวหน้า ณ ปัจจุบัน ( Progression )
ขณะนี้อยู่ในระหว่างเปิดรับและติดดามอาสามัคร
ผลการศึกษาที่น่าสนใจ
Interesting findings
N/A
เอกสารที่ต้องการเผยแพร่ (ถ้ามี)
Publications
N/A
เชื่อมโยงไปยัง web site ของโครงการ (ถ้ามี)
Link to project’s web site
https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT01641367
https://member.actgnetwork.org/study/51838#profile=0
( user and password required)