ระหว่างวันที่ 7 – 13 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา โครงการวิจัย “ผลกระทบของการรับสัมผัสสารฆ่าแมลงตั้งแต่ในครรภ์ต่อการพัฒนาระบบประสาทในกลุ่มเด็กไทยแรกเกิด: การเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยด้านวิทยาการการรับสัมผัสและการพัฒนาระบบประสาทในประเทศไทย” หรือ โครงการสวัสดี ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี โดยการสนับสนุนทุนจาก National Institutes of Health (NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ศูนย์วิจัยโรคไม่ติดเชื้อและอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฝ่ายไทย ได้มีทีมวิจัยโครงการสวัสดีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะนักวิจัยจากสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Professor Dr. Dana B. Barr, Dr. Parinya Panuwet และ Dr. Melissa Smarr จาก Emory University Rollins School of Public Health, Atlanta, USA พร้อมทั้ง Professor Dr. Nancy Fiedler จาก Rutgers University Environmental and Occupational Health Sciences Institute, New Jersey, USA และ ผศ.ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ พร้อมกับทีมนักจิตวิทยา จากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการสวัสดีทั้งด้านการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและการประเมินการพัฒนาระบบประสาทซึ่งดำเนินการใน อ.จอมทอง และอ.ฝาง จ. เชียงใหม่ ซึ่งทางโครงการฯ ได้ดำเนินมาถึงปีที่ 3 แล้ว

โดยในวันที่ 8 สิงหาคม 2562 Professor Dr. Dana B. Barr, ดร.ปริญญา ภานุเวท และ ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง ได้เดินทางไปดูพื้นที่วิจัยใหม่ด้านโรคไต ในพื้นที่ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่


พร้อมกันนี้ ทางโครงการฯ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “เทคนิคการเขียนบทคัดย่อสำหรับประชุมวิชาการ” เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้นักวิชาการและนักศึกษา ในวันที่ 10 สิงหาคม 2562 ณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล เป็นประธานเปิดการอบรม และ ดร.ปริญญา ภาณุเวท และ ผศ.ดร.นัทธี สุรีย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากร



ในระหว่างวันที่ 10-12 สิงหาคม 2562 คณะนักวิจัย ทีมผู้ช่วยนักวิจัย และทีมนักจิตวิทยา ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “Formulating the Neuro-related Manuscripts” ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 3 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “Data Management Workshop” โดยมี นายจรัญ เชื้อเย็น (นักโปรแกรมเมอร์) และนางสาวสุธาทิพย์ วงศ์ศรีเทพ (นักสถิติ) จากหน่วยบริหารจัดการข้อมูล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล โดยใช้โปรแกรมออนไลน์ “REDCap”


นอกจากนี้ ทางโครงการฯ มีการประชุมให้ความรู้เชิงวิชาการให้แก่ทีมวิจัยฝ่ายไทย เรื่อง “AGD Measurement” โดย Dr. Melissa Smarr เป็นวิทยากร ด้วย

ๅ
–