InnoTech Team จาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมนำเสนอ Proposal โครงการย่อยออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง ที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
——
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ก้องภู นิมานันท์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมนำเสนอ Proposal โครงการย่อยออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง ประจำปี 2565 คณาจารย์ที่ปรึกษาเข้าร่วม ผ่าน ZOOM MEETTING ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น และโครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ร่วมกับธนาคารออมสิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และบริการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการของกลุ่มองค์กรชุมชนให้มีศักยภาพมีมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้นำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้จริงกับชุมชน
โดยในพิธีเปิดกิจกรรมได้รับเกียรติจาก นางสาววิลานี แซ่แต้ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และองค์กรชุมชน นายสุรพล โสมะภีร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ คุณนพวรรณ ฟูติตระกูล ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณ นคร สุวรรณกาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค8 หน่วยสถาบันการเงินชุมชน กล่าวทักทายในนามของธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ และแนะนำโครงการฯ
โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง ประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ประกอบการ จำนวน 5 ชุมชน ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเจษฎาหนังปอง โดยกลุ่มนักศึกษา InnoTech Team . มี ดร.คงศักดิ์ บุญยะประนัย จากสถาบันวิจัยวิทยาศาตร์สุขภาพเป็นที่ปรึกษา
กลุ่มที่ 2 กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านแอ่น โดยกลุ่มนักศึกษาช้างน้อยหลากสี มีดร.เผชิญวาส ศรีชัย จากสถาบันวิจัยสังคมเป็นที่ปรึกษา
กลุ่มที่ 3 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่ตาด โดยกลุ่มนักศึกษามากับหรีด มีผศ.ดร. เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ และ ผศ.ดร.ภัทวรา ปฐมรังษิยังกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตรเป็นที่ปรึกษา
กลุ่มที่ 4 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟดอยขุนช่างเคี่ยน โดยกลุ่มนักศึกษา ThoRung(โต้รุ่ง) มีผศ.ดร.พิชญลักษณ์ พิชญกุล คณะบริหารธุรกิจเป็นที่ปรึกษา
กลุ่มที่ 5 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง โดยกลุ่มนักศึกษาSustainability มีผศ.ดร.สุบัน พรเวียง คณะศึกษาศาสตร์เป็นที่ปรึกษา
ทั้งนี้ ในโครงการจะมีการประกวดหาผู้ชนะจากผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อไปประกวดผลงานจากโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง ในระดับประเทศต่อไป






