บทบาทของห้องปฏิบัติการในโครงการวิจัย

ห้องปฏิบัติการ Clinical Laboratory ได้รับการประเมินและอนุญาตให้ทำการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างในโครงวิจัยเครือข่ายของ NIH ประเทศสหรัฐอเมริกา อันได้แก่ ACTG, IMPAACT, HPTN และ MTN network ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของ Primary Network Laboratory และได้รับการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานจาก Laboratory Centre ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงหน่วยงานภายนอกที่ได้รับมอบหมายจาก DAIDS เช่น pSMILE และ FHI360

นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการ Clinical Laboratory ยังได้ให้บริการแก่โครงการวิจัยอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นเครือข่าย NIH ด้วยคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน


มาตรฐานการปฏิบัติงาน 

ห้องปฏิบัติการคลินิก (Clinical Laboratory) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Laboratory Accreditation) ISO 15189 : 2012 ในด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 จนถึงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2569 และมาตรฐานการปฏิบัติงานในด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ISO 15190 : 2020 ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2566 จนถึงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2569 (Clinical Laboratory, Research Institute for Health Sciences, Chiang Mai University was accredited with Laboratory Accreditation ISO 15189 : 2012 in Medical Laboratories, Accredited from 29 June 2022 until 28 June 2026 and ISO 15190: 2020 in Medical Laboratory Safety, Accredited from 16 October 2023 until 28 June 2026)

CL ISO Lab (2)
iso1

 

SCAN2526

ห้องปฏิบัติการ Clinical Laboratory ปฏิบัติงานตาม DAIDS Guidelines for Good Clinical Laboratory Practice (GCLP) Standard (version 2.0: 25 July 2011) และได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานเทคนิคการแพทย์ไทย (Laboratory Accreditation, LA) ปี 2555 – 2564

นักเทคนิคการแพทย์ผู้ปฏิบัติการวิเคราะห์จะดำเนินงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือ Standard Operating Procedures (SOPs) ตามที่กำหนดไว้ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว


Laboratory Quality Assurance/ Quality Control

ห้องปฏิบัติการ Clinical Laboratory ได้เข้าร่วมในโปรแกรมการประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการ กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่

  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในสาขาโลหิตวิทยา เคมีคลินิก จุลทรรศนศาสตร์คลินิก และจุลชีววิทยาคลินิก
  • โครงการของ สปสช. ร่วมกับหน่วยงาน Center of Excellence for Flow Cytometry (COE), Faculty of Medicine Siriraj Hospital สำหรับการตรวจ Flow Cytometric Immunophenotyping เช่น CD3, CD4, CD8
  • College of American Pathologists (CAP) ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับการตรวจ Chemistry, HCV RNA (Viral load), HIV  serology, Viral Marker, Syphilis, Chlamydia/ Neisseria, T.vaginalis and HLA-B 57:01 Allele
  • One World Accuracy (OWA) ประเทศแคนาดา สำหรับการตรวจหา Hematology, Parasitology และ Microscopy
  • UK-NEQAS ประเทศอังกฤษ สำหรับการตรวจ Immunophenotyping เช่น CD4, CD8 และการตรวจทาง Immunology ได้แก่การตรวจ Latent TB (IGRA)
  • Virology Quality Assessment Program (VQA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการตรวจหา HIV Drug resistance และ HIV-1 RNA Viral load
  • TBGx Monitor ของ National Health Lab Service ประเทศแอฟริกาใต้ เป็น EQA สำหรับการตรวจหา MTB/RIF, SARS-CoV-2 (COVID-19) โดยวิธี GeneXpert

ความเป็นมืออาชีพ

นักเทคนิคการแพทย์ทุกคนจะได้รับการฝึกฝนและประเมินก่อนเริ่มการปฏิบัติงานจริง และระหว่างการปฏิบัติงานจะมีการติดตาม ควบคุม ตรวจสอบ และประเมินประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งนักเทคนิคการแพทย์จะต้องเข้าร่วมรับการทดสอบตามข้อกำหนดของเครือข่ายวิจัย เช่นการทดสอบ Online ใน website ซึ่งเครือข่ายวิจัยสามารถตรวจสอบผลการทดสอบของนักเทคนิคการแพทย์ได้เป็นรายบุคคล


ความสำเร็จของเรา

ทางห้องปฏิบัติการ Clinical Laboratory มีความมุ่งมั่นในการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพ และมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี 2009 ห้องปฏิบัติการ Clinical Laboratory ได้รับรางวัล “Best Laboratory Performance” จากเครือข่ายวิจัย HPTN และได้รับอีกครั้งใน ปี 2010—2011

HPTN-Best-Laboratory--Performance-Year-2009
HPTN-Best-Laboratory--Performance--Year-2010—2011

และ ในปี พ. ศ. 2015 ทางห้องปฎิบัติการ Clinical laboratory ได้รับรางวัล Outstanding laboratory performance in MTN-017 ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับห้องปฎิบัติการที่ทำงานด้าน HIV prevention ยอดเยี่ยมของ Microbicide trial network (MTN)

HIV prevention ยอดเยี่ยมของ Microbicide trial network (MTN)