THAI-CTU, โครงการวิจัย.


โครงการวิจัย IMPAACT P1081


ชื่อโครงการวิจัย

การวิจัยทางคลินิกแบบสุ่ม ระยะที่ 4 เพื่อประเมินการตอบสนองทางไวรัสวิทยาและเภสัชจลนศาสตร์ของสูตรยาที่มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน 3 สูตรในหญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีที่เริ่มสูตรยาต้านไวรัสเมื่อมีอายุครรภ์ระหว่าง 28-36 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารก

ชื่อย่อ หรือ รหัส

อิมแพ็ค พี1081

เครือข่ายวิจัย

อิมแพ็ค

หัวหน้าโครงการวิจัย

ศ.พญ. วิรัต ศิริสันธนะ

หัวหน้าโครงการวิจัยร่วม

รศ.พญ.พรรณี ศิริวรรธนาภา

ผศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ

พญ.ลินดา เอื้อไพบูลย์

สถานที่วิจัย

ประมาณ 30 หน่วยวิจัยทั่วโลก ทั้งอเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา และ เอเชีย (ประเทศไทย)

หน่วยงานผู้สนับสนุนทุนวิจัย

กลุ่มงานวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับโรคเอดส์ในมารดา ทารก เด็ก และวัยรุ่น (เครือข่ายวิจัยอิมแพ็ค) ซึ่งเป็นกลุ่มงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองโรคเอดส์ (Division of AIDS หรือ DAIDS) สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติ (National Institute of Allergy and Infectious Disease หรือ NIAID) สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Health หรือ NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกาสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา

รูปแบบการวิจัย

การศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะที่ 4 แบบสุ่ม 3 กลุ่ม ดำเนินการในหลายหน่วยวิจัย เพื่อประเมินสูตรยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน 3 ชนิดในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีที่เริ่มสูตรยาต้านไวรัสในช่วงไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ระหว่าง 28-36 สัปดาห์) ซึ่งไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน หรือเคยได้รับยาต้านไวรัส ZDV ในช่วงสั้นๆ (มากที่สุด 8 สัปดาห์) เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารก

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1 วัตถุประสงค์หลัก (Primary objective)

  1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการลดลงของปริมาณไวรัสอย่างเร็ว (ภายใน 2 สัปดาห์) และผลการกดปริมาณไวรัสที่คงอยู่ไปจนกระทั่งคลอด รวมทั้งความทนต่อยาของยาต้านไวรัสสูตรรวม 3 ชนิดที่แตกต่างกัน 3 สูตร (ประกอบด้วยยา lopinavir/ritonavir, efavirenz และ raltegravir) ในหญิงตั้งครรภ์ที่เริ่มยาต้านไวรัสเมื่อมีอายุครรภ์ระหว่าง 28-36 สัปดาห์เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารก
  2. เพื่อประเมินความปลอดภัยของสูตรยาทั้ง 3 สูตร รวมไปถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นขณะที่ได้รับยาที่ศึกษาวิจัยหรือระหว่างการติดตามมารดาและทารก

2 วัตถุประสงค์รอง (Secondary objective)

  1. เพื่อเปรียบเทียบการลดลงของปริมาณไวรัสในการรักษาด้วยยาทั้ง 3 สูตร โดย:
  2. เปรียบเทียบการลดลงของจำนวนไวรัสเอชไอวี 1ใน plasma ระหว่างการใช้ยาทั้ง 3 สูตร
  3. เปรียบเทียบการลดลงของการแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวี 1ใน plasma ระหว่างการใช้ยาทั้ง 3 สูตร
  4. เพื่อศึกษาตัวแปรทางเภสัชจลนศาสตร์ของยา lopinavir/ritonavir, efavirenz และ raltegravir ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด โดยใช้การเก็บตัวอย่างเลือดแบบ 1 จุดและ เพื่อประเมินแนวโน้มว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเภสัชจลนศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงปริมาณไวรัส หรือ การลดลงของไวรัสหรือไม่
  5. เพื่อเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของยา lopinavir/ritonavir, efavirenz และ raltegravir ใน plasma จากเลือดที่เก็บจากสายสะดือกับระดับความเข้มข้นของยาดังกล่าวใน plasma จากตัวอย่างเลือดที่เก็บจากมารดาในขณะคลอด
  6. เพื่อตรวจหาปริมาณยา lopinavir/ritonavir, efavirenz และ raltegravir ในน้ำคร่ำของอาสาสมัครที่คลอดโดยวิธีผ่าตัด
  7. เพื่อประเมินความเข้มข้นของยาต้านไวรัสและปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดและสารคัดหลั่งจากช่องคลอดของอาสาสมัครหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับสูตรยาทั้ง 3 สูตร
  8. เพื่อประเมินผลกระทบที่มีต่อทารก ประกอบด้วย การเสียชีวิตในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดน้อย การติดเชื้อเอชไอวีจากมารดา ผลต่อการพัฒนาทางระบบประสาทและการดื้อต่อยาทั้ง 3 สูตรของทารกที่ติดเชื้อเอชไอวี
  9. เพื่ออธิบายและเปรียบเทียบความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของอาสาสมัครหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยาทั้ง 3 สูตร
  10. เพื่อประเมินความชุก (prevalence) ของลักษณะพื้นฐานของการดื้อต่อยาต้านไวรัสโดยใช้การตรวจด้วยเทคนิค standard genotyping และประเมินความสัมพันธ์ของลักษณะยีนที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส และการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไวรัสในเลือด (log- change in viral load) ในช่วง 6 สัปดาห์แรกของการได้รับยาต้านไวรัส รวมทั้งการถ่ายทอดเชื้อโดยใช้วิธี ultra-sensitive OLA assays
  11. เพื่อประเมินรูปแบบการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่ของเชื้อที่ดื้อต่อยา ระหว่างที่ได้รับยาในแต่ละกลุ่ม โดยใช้การตรวจด้วยเทคนิค standard และ ultra-sensitive genotyping ในหญิงตั้งครรภ์ที่หยุดยาต้านไวรัส ณ ช่วงเวลา 2-4 สัปดาห์หลังคลอด
  12. เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ก่อน (innate) และที่มีการเปลี่ยน (adaptive immune responses) ของทารก ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีที่มี inflammatory การศึกษากลุ่มย่อยมารดาและทารกด้าน regulatory markers และ inflammatory markers ของทารก ด้วยการศึกษา inflammatory markers ต่างๆ ทั้งในมารดาและทารก

จำนวนอาสาสมัครที่คาดว่าจะรับ (ทั้งโครงการ / ที่สถาบันวิจัยฯ)

หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีและทารกจากทุกหน่วยวิจัย จำนวนประมาณ 558 คู่ (มารดาและทารก) จะเข้าร่วมในการศึกษาวิจัยนี้

สำหรับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะรับอาสาสมัครประมาณ 15-20 คู่ (มารดาและทารก) ในการศึกษาวิจัยนี้

ปี พ.ศ. ที่เริ่มดำเนินงาน

2557

ปี พ.ศ. ที่คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น

2561

ความสำคัญ

ปัจจุบันเรามีข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสที่ใช้ร่วมกันหลายๆ ชนิดทั้งในเรื่องการกดปริมาณเชื้อไวรัส การฟื้นตัวของระบบภูมิคุ้มกันและความทนต่อยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการลดลงของปริมาณเชื้อหลังจากได้รับการรักษา 24-48 สัปดาห์ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีรวมถึงความทนต่อยาและการเปลี่ยนแปลงของระดับ CD4 หลังจากได้รับการรักษาเป็นเวลา 48 สัปดาห์ มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการกดปริมาณไวรัสของยาสูตรที่มีโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์และอิฟาวิเรนซ์ในผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมียาตัวใหม่ในกลุ่ม Integrase Inhibitors ซึ่งได้รับการทดสอบแล้วในการศึกษาระยะก่อนการทดสอบในคน รวมทั้งการศึกษาระยะที่ 2 และ 3 ว่ามีความแรงมาก มีความทนต่อยาและประสิทธิภาพดีในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีทั้งกลุ่มที่เคยได้รับยาต้านไวรัสและมีการดื้อต่อยาทั้งสามตัวที่ใช้และกลุ่มไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน เพื่อความปลอดภัยของทารกที่จะคลอดออกมา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ปริมาณไวรัสลดลงอย่างรวดเร็วในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ช้า อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลการใช้ยาเหล่านี้ในประชากรกลุ่มนี้ ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษานี้คือเพื่อเปรียบเทียบความปลอดภัย ความทนต่อยา ลักษณะทางเภสัชวิทยา การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและปริมาณไวรัสของยาต้านไวรัสสามชนิดที่เป็นตัวแทนของยาต้านไวรัสในแต่ละกลุ่มสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ช้า

นอกจากนี้แล้วในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อระบบประสาทของทารกที่ได้รับยาอิฟาวิเรนซ์ในไตรมาสที่ 3 ยังมีอยู่จำกัดนี้ ในการศึกษาครั้งนี้จะมีการตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการทางระบบประสาทสำหรับทารกที่เกิดจากมารดาที่เข้าร่วมโครงการวิจัยในทุกกลุ่มสูตรยา เพื่อดูว่าจะมีความผิดปกติในด้านใดและเปรียบเทียบระหว่างแต่ละกลุ่มที่ทำการศึกษา

Website ของโครงการ (ถ้ามี)

http://impaactnetwork.org/studies/P1081.asp

Post 1525 Views