Non-NIH, โครงการวิจัย.


โครงการวิจัย HIVNAT 203: NAFLD study


ชื่อโครงการวิจัย

ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มสุรา และภาวะแทรกซ้อนทางเมตาบอลิซึมระยะยาวในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาและได้รับยาต้านไวรัส

ชื่อย่อ หรือ รหัส

ฮีฟแนท 203: เอ็นเอเอฟแอลดี

เครือข่ายวิจัย

ฮีฟแนท

หัวหน้าโครงการวิจัย

อาจารย์ แพทย์หญิงทวิติยา สุจริตรักษ์

หัวหน้าโครงการวิจัยร่วม

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวิรัต ศิริสันธนะ

แพทย์หญิงลินดา เอื้อไพบูลย์

สถานที่วิจัย

ประเทศไทย 3 แห่ง ดังนี้

  1. ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทย ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (ฮีฟแนท) สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ
  2. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  3. คณะแพทยศาสตร์และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประเทศอินโดนีเซีย 1 แห่ง คือ Cipto Mangunkusumo Hospital, Jakarta

หน่วยงานผู้สนับสนุนทุนวิจัย

โปรแกรมฐานข้อมูลระบาดวิทยานานาชาติเพื่อประเมินสถานการณ์เอดส์ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (เอ็นไอเอช)

รูปแบบการวิจัย

การศึกษาแบบจับคู่อายุของกลุ่มศึกษากับกลุ่มควบคุม (age-matched case-control study) โดยจะมีการจับคู่อายุของอาสาสมัคร (+ 12 เดือน) ตามอัตราส่วน 1: 1

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

วัตถุประสงค์ที่ 1: เพื่อเปรียบเทียบความชุกของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มสุราในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาและได้รับยาต้านไวรัสอย่างได้ผลที่มีค่าการทำงานของตับผิดปกติ กับความชุกของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มสุราในเด็กและวัยรุ่นที่มีค่าการทำงานของตับปกติ

วัตถุประสงค์ที่ 2: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มสุราในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาและกำลังได้รับยาต้านไวรัสอย่างได้ผล

วัตถุประสงค์ที่ 3: เพื่อประเมินความถูกต้องของตัวชี้วัดการทำงานของตับ (serum biomarkers) ในการวินิจฉัยการเกิดพังผืดในตับ (ความไวและความจำเพาะ) และประเมินความสัมพันธ์ของของตัวชี้วัดการทำงานของตับ (serum biomarkers) กับการตรวจพังผืดตับทางรังสีวิทยา (transient elastography) ในการวินิจฉัยภาวะพังผืดในตับ

วัตถุประสงค์ที่ 4: เพื่อศึกษาความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติทางเมตาบอลิกในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาและได้รับยาต้านไวรัสอย่างได้ผล

วัตถุประสงค์ที่ 5: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางเมตาบอลิกในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาที่ได้รับยาต้านไวรัสอย่างได้ผล

จำนวนอาสาสมัครที่รับ (ทั้งโครงการ/ที่สถาบันวิจัยฯ)

เด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาและกำลังได้รับยาต้านไวรัสจำนวน 120 คน จากทั้ง 4 หน่วยวิจัย

สำหรับคณะแพทยศาสตร์และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จะรับอาสาสมัครประมาณ 20-25 คน

ปี พ.ศ. ที่เริ่มดำเนินงาน

เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

ปี พ.ศ. ที่คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558

ความสำคัญ

ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มสุราและกลุ่มอาการผิดปกติทางเมตาบอลิกในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและได้รับยาต้านไวรัสนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในคำถามวิจัยที่สำคัญในการศึกษาที่เกี่ยวกับเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี การศึกษาวิจัยนี้จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่มีความสำคัญและความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับความชุก และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มสุรา และกลุ่มอาการผิดปกติทางเมตาบอลิกในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและได้รับยาต้านไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด เพื่อเน้นย้ำและชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนระยะยาวที่ไม่สามารถรักษาได้ในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อและจะต้องเติบโตไปกับเชื้อเอชไอวี

Post 1502 Views