Non-NIH, โครงการวิจัย.


HIVNAT 217:


ชื่อโครงการวิจัย

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสามารถในการดำรงชีวิตและการปรับตัวในเด็กวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและเด็กวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี

ชื่อย่อ หรือ รหัส

ฮีฟแนท 217

เครือข่ายวิจัย

ฮีฟแนท

หัวหน้าโครงการวิจัย

แพทย์หญิงวาสนา ประสิทธิ์สืบสาย

หัวหน้าโครงการวิจัยร่วม

แพทย์หญิงลินดา เอื้อไพบูลย์

สถานที่วิจัย

ประเทศไทย 8 แห่ง ดังนี้

  1. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ความร่วมมือวิจัยโรคเอดส์ระหว่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ไทย (The HIV Netherlands Australia Thailand Research Collaboration (HIV-NAT)), ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ
  2. สถาบันบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี
  3. โรงพยาบาลศรีนครินทร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  4. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชาเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  5. โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
  6. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
  7. โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
  8. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประเทศกัมพูชา 2 แห่ง ดังนี้

  1. โรงพยาบาลกุมารเวชศาสตร์แห่งชาติ กรุงพนมเปญ
  2. คลินิกสุขภาวะทางสังคม กรุงพนมเปญ

หน่วยงานผู้สนับสนุนทุนวิจัย

สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ, สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา

รูปแบบการวิจัย

การศึกษาโดยสังเกตการณ์แบบไปข้างหน้า

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

วัตถุประสงค์ 1: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสามารถในการดำรงชีวิตและการปรับตัวในเด็กวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีแต่กำเนิด (paHIV+) และเด็กวัยรุ่นที่มารดาติดเชื้อเอชไอวีขณะตั้งครรภ์ แต่เด็กไม่ติดเชื้อเอชไอวีแต่กำเนิด (HEU)

วัตถุประสงค์ 2: เพื่อระบุถึงลักษณะทางกายวิภาคของสมองที่เชื่อมโยงกับความสามารถในการดำรงชีวิตและการปรับตัว

วัตถุประสงค์ 3: เพื่อตรวจสอบปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสามารถในการดำรงชีวิตและการปรับตัวในสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงความสำคัญของการวินิจฉัยและรักษาในบริบทต่างๆ

จำนวนอาสาสมัครที่รับ (ทั้งโครงการ/ที่สถาบันวิจัยฯ)

เด็กวัยรุ่นอายุ ≥ 10 ปีที่เข้าร่วมในโครงการวิจัย PREDICT จำนวน 580 ราย โดยแบ่งได้ดังนี้

เด็กวัยรุ่นติดเชื้อ HIV 280 คนที่เข้าร่วมโครงการวิจัย PREDICT (140 คนในกลุ่ม ที่เริ่มยาต้านไวรัสทันที (immediate ART arm) และ 140 คนที่เริ่มยาต้านไวรัสเมื่อถึงเกณฑ์ที่กำหนด (deferred ART arm))

เด็กวัยรุ่น 150 คน เด็กวัยรุ่นที่มารดาติดเชื้อเอชไอวีขณะตั้งครรภ์ แต่เด็กไม่ติดเชื้อเอชไอวีแต่กำเนิด (HEU)

เด็กวัยรุ่น 150 คน เด็กวัยรุ่นที่มารดาไม่ติดเชื้อเอชไอวีขณะตั้งครรภ์ และเด็กไม่ติดเชื้อเอชไอวี (HUU)

สำหรับคณะแพทยศาสตร์และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จะรับอาสาสมัครประมาณ 80 คน

ปี พ.ศ. ที่เริ่มดำเนินงาน

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557

ปี พ.ศ. ที่คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2561

ความสำคัญ

การประเมินความสามารถในการดำรงชีวิตและการปรับตัวในเด็กวัยรุ่นซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อยของ พรีดิคท์เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้

ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการดำรงชีวิตและการปรับตัวของวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ณ ระดับซีดีสี่ต่างๆกัน ที่ไม่ได้มีอาการของโรคเอดส์ ไม่ได้สัมผัสสารเสพติดระหว่างอยู่ในครรภ์และอาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีทรัพยากรจำกัดนั้นยังมีน้อย การศึกษานี้จะเพิ่มเติมจากการศึกษาหลักพรีดิคเช่นเดียวกับการศึกษาโครงการย่อยอื่นๆที่ผ่านมา รวมทั้งการศึกษาพัฒนาการทางระบบประสาท (HIVNAT 121) เพื่อสร้างองค์ความรู้สำหรับใช้ในการพัฒนาแนวทางการป้องกันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการที่จะช่วยให้วัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีและวัยรุ่นที่สัมผัสกับเชื้อเอชไอวีแต่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกให้ประสบความสำเร็จในการผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และวัยทำงานต่อไป

มีข้อมูลที่จำกัดเกี่ยวกับพัฒนาการของสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) ในวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีและความสัมพันธ์กับ ความสามารถในการดำรงชีวิตและการปรับตัวของวัยรุ่น

ยังไม่มีผู้ทำการศึกษาเพื่อประเมินเชาวน์ปัญญา พฤติกรรมและสุขภาพจิตของวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีและวัยรุ่นที่สัมผัสกับเชื้อเอชไอวีแต่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีที่อาศัยอยู่ภายใต้วัฒนธรรมที่หลากหลาย

Post 1793 Views