กิจกรรมวิชาการ.

x4_4

คุณกนิษฐา  ไทยกล้า นักวิจัยด้านสารเสพติด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เปิดเผยว่า ในปัจจุบันวัยรุ่นเมืองไทยบางกลุ่มนำยาแก้ไอแบบน้ำที่ผสมสาร “โคเดอีน” มาผสมกับน้ำอัดลม หรือน้ำหวาน น้ำชาเขียวแล้วดื่มเพื่อให้เกิดอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เป็นการ “ใช้ผิดประเภท” โดยไม่ตระหนักถึงอันตราย ซึ่งจะส่งผลทำให้ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อามรมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สมองเสื่อม อาการขาดยาจะทุรนทุราย หงุดหงิด เหงื่ออกมาก ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดท้อง อาเจียน ชัก หมดสติและอาจเสียชีวิตได้

คุณกนิษฐา กล่าวว่าทำไมยาแก้ไอกลายเป็นยามีปัญหา กับประเด็นเรื่องการถูกใช้เป็นเครื่องดื่มมึนเมา ก็ต้องโฟกัสไปที่เจ้าสาร “โคเดอีน” ซึ่งสารดังกล่าวนี้ถูกจัดเป็นสารเสพติดประเภท 2 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ถูกนำมาใช้ผสมในยาแก้ไอก็เพราะมันมีคุณสมบัติออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท กดอาการไอไม่ให้กำเริบ เจ้าโคเดอีนนี่มีฤทธิ์คล้าย “มอร์ฟีน” ทำให้เกิดอาการเคลิ้ม มึนเมา จึงถูกจัดเป็นยาเสพติดประเภท 2 ซึ่งการที่วัยรุ่นไทยนำไปผสมน้ำอัดลมโดยเฉพาะประเภทน้ำดำแล้วดื่มกันนั้น ฤทธิ์ของมันมิใช่แค่ทำให้มึนเมาแต่หากดื่มเข้าไปในปริมาณที่มากและต่อเนื่อง มีสิทธิจะทำให้เกิดการชัก เพ้อคลั่ง ชีพจรเต้นช้า หัวใจเต้นเร็ว ไม่รู้สึกตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระบบการหมุนเวียนภายในร่างกายล้มเหลว ระบบการหายใจเป็นอัมพาต.แล้วก็ “ตาย” ในที่สุด !!

            “ยาแก้ไอนั้นในตัวมันเองความจริงแล้วก็ไม่มีอะไร ไม่ได้น่ากลัว แต่ที่เกิดปัญหาขึ้นก็เพราะว่าคนนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือละเลยข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัย”

……………………………………………………………..

ข่าวโดย หน่วยประชาสัมพันธ์  และบริการวิชาการ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Post 15085 Views