กิจกรรมวิชาการ.

รศ. นพ. สุวัฒน์  จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ แถลงข่าวผลงานวิจัยมลพิษทางอากาศในภาคเหนือตอนบนกับปัญหาสุขภาพ” ในการสัมมนา “บูรณาการงานวิจัยแก้ไขปัญหาโลกร้อนและมลพิษทางอากาศ” ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2555 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จ.เชียงใหม่

จากงานวิจัยมลพิษทางอากาศในภาคเหนือตอนบนกับปัญหาสุขภาพ ซึ่งนักวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพนำโดยดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัยอาวุโสและคุณธัญภรณ์เกิดน้อยและทีมงาน จากหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พร้อมด้วยคณาจารย์จากคณะต่างๆ ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาผลกระทบมลพิษจากฝุ่นละอองขาดเล็กและหมอกควันในภาคเหนือตอนบน ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ 8 จังหวัด ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่มีมลพิษจาการเผาในที่โล่งในพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรม และในชุมชน ซึ่งว่าพบมลพิษในอนุภาคฝุ่นที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดมลสารทางอากาศ อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หมอกควัน และ กลุ่มสารอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือเรียกว่าสารพีเอเอช มีความรุนแรงในพื้นที่นอกเมืองมากกว่าพื้นที่ในเมือง ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง

งานวิจัยมลพิษทางอากาศในภาคเหนือตอนบนกับปัญหาสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ดำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาผลกระทบมลพิษจากฝุ่นละอองขาดเล็กและหมอกควันในภาคเหนือตอนบน โดยดำเนินการวิจัยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่มีปลพิษจาการเผานี่โล่งในพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรม และในชุมชน และมีความรุนแรงในพื้นที่นอกเมืองมากกว่าพื้นที่ในเมือง ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ทาให้เกิดมลสารทางอากาศ อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หมอกควัน และ กลุ่มสารอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือเรียกว่าสารพีเอเอช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง

จากงานวิจัยที่สถาบันฯ ดำเนินการ ตรวจหาการสัมผัสสารมลพิษจากการตรวจปัสสาวะในกลุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย พบว่า กลุ่มเด็กนอกเมืองมีความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสสารพีเอเอชสูงกว่าเด็กในเมืองถึง 3.7 เท่า (เด็กกลุ่มนอกเมืองมีระดับ สาร1-โอเอชพี ระหว่าง 190.2-287.6 นาโนโมลต่อโมลครีเอตินีน เด็กกลุ่มในเมืองมีระดับสาร1-โอเอชพี ระหว่าง 50.4-78.8 นาโนโมลต่อโมลครีเอตินีน) การเจ็บป่วยจากการบันทึกสุขภาพของเด็กนอกเมืองมีความสัมพันธ์กับ ระดับ 1-โอเอชพี ที่ตรวจพบในปัสสาวะ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p< 0.022, n=153) ซึ่งอนุมานว่าระดับการสัมผัสสารพีเอเอชและระดับฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่นอกเมืองมีระดับค่อนข้างสูงมาก ส่งความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยโรคทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน แต่ผลกระทบสุขภาพที่แฝงอยู่กับฝุ่นละอองและสารพีเอเอชที่เกิดจากการเผาไหม้ในที่โล่งในพื้นที่นอกเมืองคือการก่อโรคเรื้อรังในอนาคต

และเมื่อผลการวิจัยได้ข้อสรุปการสัมผัสสารมลผิษจากการตรวจปัสสาวะในกลุ่มตัวอย่างแล้วนำไปสู่ การขยายผลการวิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบสุขภาพสู่การแก้ปัญหาในชุมชนโดย จากการสัมมนา 8 จังหวัด ในเบื้องต้น มีอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ที่นายอำเภอ (นายประกาศิต มหาสิงห์) และผู้นำท้องถิ่นยินดีเป็นอำเภอต้นแบบเพื่อำาเนินกิจกรรมต่างๆ ไปสู่การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและหมอกควัน และพัฒนาเพื่อให้มีเครื่องตรวจวัดระดับฝุ่นสาหรับใช้ในชุมชน ได้สร้างเครื่องวัดปริมาณฝุ่นพีเอ็ม10 ต้นแบบซึ่งจะทดสอบกับเครื่องที่ซื้อจากต่างประเทศก่อนนาไปขยายผลการผลิตและใช้ในชุมชน ซึ่งเป็นนวตกรรมจากโครงการวิจัยที่วช.สนับสนุน และสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการนาเข้าเครื่องจากต่างประเทศได้ถึงประมาณ 3 เท่า

………………………………………………………………..

ข่าวโดย หน่วยประชาสัมพันธ์ และบริหารวิชาการ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Post 1289 Views