โครงการวิจัย.

1277802346

ชื่อโครงการวิจัย : 

โครงการ “การป้องกันการใช้สารเสพติดและการติดเชื้อเอชไอวีในชนบทของประเทศไทย โดยกระบวนการขับเคลื่อนชุมชน” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “โครงการฮักชุมชน”

 

เครือข่ายวิจัย (รหัสโครงการ) :

RURAL MA (ฮักชุมชน)

 

หัวหน้าโครงการวิจัยฝ่ายต่างประเทศ : 

David Celentano, ScD, MHS,

 

หัวหน้าโครงการวิจัยในประเทศ :   

ผู้ช่วยศาตราจารย์ นายแพทย์ ดร.อภินันท์  อร่ามรัตน์

 

นักวิจัยร่วม : 

คุณบังอร  ศิริโรจน์

 

องค์กรความร่วมมือ :

  • มหาวิทยาลัย Johns Hopkins 
  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ผู้ให้ทุน :

  • National Institute on Drug Abuse
  • National Institutes of Health, USA

 

พื้นที่ในการศึกษา : 

6 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ เชียงดาว แม่แตง สันทราย สันกำแพง ดอยสะเก็ด และสารภี

 

ระยะเวลาในการศึกษา :

เริ่มเดือนมกราคม 2551สิ้นสุด เดือนธันวาคม 2555

 

ที่มาและความสำคัญ :

ในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมามีการแพร่กระจายของยาเสพติดที่ไม่ได้ใช้โดยวิธีการฉีด โดยเฉพาะยาบ้าที่เริ่มระบาดมาตั้งแต่ปี 2538 ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ก็มีอยู่มีอยู่มากมายทั่วไปในกลุ่ม วัยรุ่นและผู้ใหญ่ ผลการศึกษาวิจัยที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปชี้ให้เห็นว่าการใช้ยาบ้าร่วมกับการดื่ม เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทำให้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสูงขึ้นในกลุ่มเยาวชนที่ ใช้ยาบ้า นอกจากนี้ยังมีรายงานอย่างกว้างขวางว่ามีการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานและ พฤติกรรมทางเพศในกลุ่มเยาวชนคนหนุ่มสาว การมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของคนไทยเป็นเรื่องปกติ การใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์มีน้อยและการรับรู้ความเสี่ยงต่อการติด เชื้อเอชไอวีต่ำ ความชุกของการใช้สารเสพติดยังไม่ได้รับการประเมินในแง่ของความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี/โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ยกเว้นรายงานการศึกษาความสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าวกับยาบ้าที่เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ  ในสภาวะดังกล่าวข้างต้น สถานการณ์ที่เป็นอยู่ส่งเสริมสนับสนุนให้ทำการศึกษาวิจัยปัจจัยทางสังคมและ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์การศึกษา :

ต้องการลดการใช้สารเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและลดการติดเชื้โรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชน ในชนบทของประเทศไทย โดยกระบวนการขับเคลื่อนชุมชน ตามแนวคิดเชื่อมประสานเพื่อการปกป้อง( Connect to protect หรือ C2P) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อการลด การใช้สารเสพติดและลดการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี

 

แบบแผนของการวิจัย/ การออกแบบวิธีวิจัย:

เป็นการวิจัยชุมชนแบบมีกลุ่มควบคุม ซึ่งแบ่งกลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม ( Community-randomized control trial) จะทำการเลือกชุมชน 6 ชุมชนใน 6 อำเภอเป้าหมายเพื่อทำการสุ่มแบ่งกลุ่มเป็นชุมชนทดลองและชุมชนควบคุม 3 คู่ ปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการจับคู่ชุมชนเพื่อทำการสุ่มแบ่งกลุ่มมีดังนี้
1. ระยะทางระหว่างชุมชนนั้นๆกับตัวเมืองเชียงใหม่
2. จำนวนประชากรอายุ 14-29 ปี
3. สภาพเศรฐกิจ
4. ความชุกของการใช้ยาเสพติดและเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
5. ความชุกของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
6. ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี
7. อัตราการจับกุมคดียาเสพติดและคดีที่เกี่ยวข้องเช่น ความรุนแรง และการลักขโมยเป็นต้น

ชุมชนทดลองจะได้รับการสุ่มเลือกให้ได้รับการขับเคลื่อนชุมชน( Community mobilization) โดยใช้แนวคิดเชื่อมประสานความร่วมมือเพื่อการปกป้อง (Connect to protect: C2P) เจ้าหน้าที่ของโครงการวิจัยจะสร้างกลุ่มแกนนำ (Coalition)ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชนนั้นขึ้นมาเพื่อดำเนินงานด้านต่างๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่จะนำไปสู่การลดการใช้ยาบ้าและสารเสพ ติดอื่นๆและลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี การดำเนินงานของกลุ่มแกนนำจะมีคู่มือสำหรับช่วยในกระบวนการคิดเพื่อกำหนด วัตถุประสงค์ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สามารถวัดได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ของโครงการคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน

ชุมชนควบคุมจะได้รับโปรแกรมให้ข้อมูลเพื่อให้ชุมชนตื่นตัวรับรู้เรื่องเอ ชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันเอชไอวี/โรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งปรับปรุงมาจากโปรแกรมของสถาบันควบคุมโรคติดต่อประเทศสหรัฐอเมริกาและ ความรู้ด้านต่างๆที่ได้จากการศึกษาวิจัยกลุ่มเยาวชนที่ใช้ยาบ้าก่อนหน้านี้ โปรแกรมนี้จะรวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบเกี่ยวกับบริการให้คำปรึกษา แนะนำและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี (Referral HIV counseling and testing) และสถานที่ที่จะไปรับบริการได้

ลักษณะตัวอย่างหรือประชากรที่ทำศึกษา:

ก. ประชากรเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างของโครงการวิจัยมี 2 ส่วนคือ
     ก1. ชุมชน 6 ชุมชน(1 ชุมชนประกอบด้วย 8-10 หมู่บ้าน) จาก 6 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่ เชียงดาว แม่แตง ดอยสะเก็ด สันทราย  สารภีและสันกำแพง
     ก2. เยาวชนและคนหนุ่มสาวชายหญิงทั่วไป อายุ 14-29 ปีที่อาศัยใน 6 ชุมชนจาก 6 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่

ข. การเลือกตัวอย่าง
     ข1.เงื่อนไขการคัดเลือกชุมชน
          • ตั้งอยู่บนเส้นทางถนนสายหลักจากอำเภอฝางถึงเมืองเชียงใหม่
          • องค์กรชุมชนมีความกระตือรือร้นและประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่
          • มีความยินดีที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัย
     ข2. เงือนไขการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์
          • อายุระหว่าง 14-29 ปี
          • มาจากชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ
          • อาศัยอยู่ในชุมชนที่ศึกษาวิจัยมานานอย่างน้อย 4 เดือนและพักอยู่ที่พักอาศัยอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 2 คืนต่อสัปดาห์

ค. ขนาดตัวอย่าง
     ค 1. ชุมชนจาก 6 อำเภอจำนวน 6 ชุมชน หนึ่งชุมชนประกอบไปด้วยประชากรประมาณ 10,000 คน
     ค 2. เยาวชนและคนหนุ่มสาวชายหญิง อายุ 14-29 ปี จำนวน 2,000 คนจาก 6 ชุมชน
วิธีการวิจัย :

การศึกษาวิจัยเป็นการทดสอบที่มีการ แบ่งกลุ่มพื้นที่วิจัยระดับอำเภอด้วยวิธีการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มทดลอง 3 อำเภอประกอบด้วย สันกำแพง สันทรายและแม่แตง ดำเนินการตามแนวคิดเชื่อมประสานเพื่อการปกป้อง และกลุ่มควบคุม 3 อำเภอได้แก่เชียงดาว ดอยสะเก็ดและสารภีดำเนินการตามมาตรฐานที่ปฏิบัติตามปกติ แล้วทำการประเมินผลทั้ง 2 กลุ่มทุก 18 เดือน 2 ครั้ง

 

ประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัย:

โครงการวิจัยมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยรวมของเยาวชนในชุมชนที่ ศึกษาวิจัย โดยเข้าไปกระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือสมาชิกชุมชนและผู้เกี่ยวข้องให้ เข้ามาร่วมกันดำเนินงานด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงร้างที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาสุขภาพของ เยาวชน กระบวนการที่สร้างขึ้นจะทำให้เกิดความเข้มแข็งแก่กลุ่มแกนนำในชุมชนและชุมชน โดยรวมอย่างยั่งยืน และสามารถขยายการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาด้านอื่นๆได้ด้วยตนเองในอนาคต นอกจากนี้ประสบการณ์จากงานวิจัยยังสามารถนำไปเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วม กับหน่วยงานและองค์กรอื่นที่มีความสนใจการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนได้ด้วย

 

รายละเอียดเพิ่มเติม:

http://hugchumchon.wordpress.com

Post 1777 Views