โครงการวิจัย.

1278040094

ชื่อโครงการวิจัย :

โครงการ “ผลกระทบของกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ต่อพฤติกรรมทางเพศของเยาวชนไทยอายุต่ำกว่าเกณฑ์” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “โครงการแอลกอฮอล์”

เครือข่ายวิจัย (รหัสโครงการ) :

ALCOHOL

หัวหน้าโครงการวิจัยฝ่ายต่างประเทศ :

ซูซาน จี เชอร์แมน

หัวหน้าโครงการวิจัยในประเทศ :

ผู้ช่วยศาตราจารย์ นายแพทย์ ดร.อภินันท์ อร่ามรัตน์


นักวิจัยร่วม :

คุณบังอร ศิริโรจน์

ผู้ให้ทุน :

National Institute on Drug Abuse

พื้นที่ในการศึกษา :

อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ระยะเวลาในการศึกษา :

2 ป่ี ตั้งแต่ กันยายน 2551 – สิงหาคม 2553

ที่มาและความสำคัญ :

การศึกษานี้จะศึกษาถึงผลของข้อกำหนดใหม่ในการบริโภคแอลกอฮอล์ ความชุกของการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนไทยอายุต่ำกว่าเกณฑ์ซึ่งมีความเสี่ยงสูง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 ประเทศไทยได้เสนอกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ใหม่ ควบคุมการผลิต การขาย การใช้ และการจัดการกับผู้เสพติดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ การศึกษาวิจัยนี้มุ่งความสนใจไปที่หมวด 4 ของกฎหมายใหม่ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มอายุผู้ที่สามารถซื้อเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ได้ตามกฎหมาย จากอายุ 18 ปีเป็น 20 ปี จำกัดเรื่องการโฆษณา เวลา การส่งเสริมการขาย และห้ามการขายและดื่มในสถานที่ที่กำหนด ได้แก่ ในวัด โรงเรียน และมหาวิทยาลัยเป็นต้น โครงการวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
จากการสำรวจพบว่าการบริโภคแอลกอฮอล์ในประเทศไทยสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก โดยเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าภายใน 14 ปีที่ผ่านมา (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย 2549) แอลกอฮอล์มีบทบาทถึง 90% ของการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุบนท้องถนน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตวันละ 37 คน (คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2548) ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย การใช้แอลกอฮอล์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ (Lampham et al., 1999; Ford & Norris, 1998; Weniger et al., 1991) เช่นเดียวกับสถานการณ์ทั่วโลก แอลกอฮอล์ถูกใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มเยาวชนและหนุ่มสาวในประเทศไทย (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย, 2549; WHO, 2547) ในกลุ่มอาสาสมัครอายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปี (N=983) ในการวิจัยโดยการแทรกแซงทางพฤติกรรมของเรา (DA14702 PI Celentano) ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย พบว่า 100% รายงานว่าเคยดื่มแอลกอฮอล์ และ 50% รายงานว่าเคยดื่ม 4-6 วันต่อสัปดาห์ภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ 74% รายงานว่าเคยมีเพศสัมพันธ์ขณะเมา การศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการบริโภคแอลกอฮอล์ที่สูงในอัตราคงที่ในกลุ่มเยาวชนไทย

ในขณะที่การระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ในประเทศไทยกำลังขยายออกไป ก็ได้มีกลุ่มเสี่ยงใหม่ๆนอกเหนือจากกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศและผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเกิดขึ้น ในเดือนมกราคม 2547 องค์กรอนามัยโลกได้ออกรายงานซึ่งระบุว่าพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการใช้ถุงยางอนามัยที่จำกัดในกลุ่มเยาวชนชาวเอเชียเป็นสาเหตุขั้นต้นของการเพิ่มขึ้นของการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี โดยระบุถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศว่าเป็นปัจจัยหลัก (Yahna, 2004) กลุ่มประชากรที่ติดเชื้อเอชไอวีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทยมีอายุระหว่าง 25-29 ปี แสดงให้เห็นว่าการแพร่กระจายเกิดขึ้นในช่วงเยาวชนและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (UNAIDS, 2002; Kilmarx et al., 1998) การศึกษาที่ทำในกลุ่มเยาวชนและหนุ่มสาวได้ระบุถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างการบริโภคแอลกอฮอล์และความชุกในการติดเชื้อเอชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Thompson et al., 2005; McEwan et al., 1992) เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภค แอลกอฮอล์และระดับของพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึงการมีคู่นอนหลายคน และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน (Santelli et al., 2001; Shrier et al., 2001; Dunns et al., 2003; Stanon et al., 1999).

วัตถุประสงค์การศึกษา :

1. เพื่อศึกษาความหมายและวัฒนธรรมในการดื่ม (ต.ย. เช่น บรรทัดฐานทางสังคม) และความสัมพันธ์ของสิ่งนี้ต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง
a. เพื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมการดื่มระหว่างผู้ดื่มแอลกอฮอล์อายุต่ำกว่าเกณฑ์และอายุตามเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาต ซึ่งสรรหาเข้าร่วมการศึกษาวิจัยจากสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. เพื่อศึกษาถึงการบริโภคแอลกอฮอล์และรูปแบบการติดแอลกอฮอล์ของกลุ่มเยาวชนไทยอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงในช่วงเวลาก่อนและหลังกฎหมายใหม่ที่ควบคุมการใช้แอลกอฮอล์มีผลบังคับใช้ และ
3. เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายใหม่ที่ควบคุมการใช้แอลกอฮอล์กับพฤติกรรมความเสี่ยงทางเพศที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์

ลักษณะตัวอย่างหรือประชากรที่ทำศึกษา:

ระยะที่ 1 : ประชากรในการศึกษาระยะที่ 1 (ปี 1) จะประกอบไปด้วยผู้ให้ข้อมูลหลัก เช่น ผู้จัดการบาร์ ตำรวจ เยาวชนอายุ 18-19 ปี ที่ไม่ดื่ม และเยาวชนอายุ 18-19 ปี ที่ดื่ม เราคาดว่าจะทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (N=60) กับเยาวชนอายุ 18-19 ปีและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บาร์เทนเดอร์ ผู้จัดการบาร์ และตำรวจ (n=10) กลุ่มตัวอย่างจะประกอบไปด้วยอาสาสมัคร 70 คน

ระยะที่ 2 : ประชากรในการศึกษาระยะที่ 2 (ปี 2) จะประกอบไปด้วยกลุ่มตัวอย่างก่อนการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นเยาวชนอายุต่ำกว่าเกณฑ์ (n=945) ที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งเป็นอาสาสมัครเดิมจากโครงการวิจัยเกี่ยวกับเยาวชนที่ใช้ยาบ้า (ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม #H.34.01.09.14.B1) กลุ่มตัวอย่างก่อนบังคับใช้กฎหมายจะไม่ได้รับการติดต่อจากโครงการวิจัยนี้ แต่จะใช้ข้อมูลของพวกเขาจากโครงการวิจัยเดิม กลุ่มตัวอย่างที่ 2 จะเป็นกลุ่มตัวอย่างภาคตัดขวางหลังการบังคับใช้กฏหมายซึ่งเป็นอาสาสมัครใหม่ (N=600) โดยจะประกอบไปด้วย 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มตัวอย่างอายุ 18-25 ปี (n=300) ที่ใช้ยาบ้า (เกณฑ์การรับอาสาสมัครเช่นเดียวกับโครงการวิจัยยาบ้าเดิม) และ กลุ่มตัวอย่าง “ที่เป็นเยาวชนทั่วไป” (n=300) อายุระหว่าง 18—25 ปี โดยไม่สนใจว่าใช้ยาบ้าหรือไม่ อาสาสมัครทั้งหมดจะมีรวมทั้งสิ้น 1,545 คน โดยมี n=945 ซึ่งได้รับการรับรองในครั้งก่อน

วิธีการวิจัย :

กระบวนการสรรหาอาสาสมัครและการศึกษา:
ระยะที่ 1 (เชิงคุณภาพ) : ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพและการได้มาซึ่งข้อมูลที่มีประโยชน์ คือ การเลือกอาสาสมัครที่สามารถบรรยายได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับ

ชีวิต ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของพวกเขาได้ จะมีการสรรหาอาสาสมัครเพื่อการศึกษาเชิงคุณภาพจากหลากหลายสถานที่ โดยการสรรหาบาร์เทนเดอร์และผู้จัดการจากบาร์ เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการนั่งดื่มและสร้างสัมพันธไมตรีกับเจ้าหน้าที่กับพวกเขา และเมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วว่าพวกเขาน่าจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ ก็จะขอให้พวกเขาเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก และพูดคุยกับพวกเขาตามความจำเป็นตลอดกระบวนการเก็บข้อมูลในการศึกษาช่วงที่ 1 สำหรับตำรวจจะทำการสรรหาที่หน่วยงานกลางของตำรวจ และจะสรรหาเยาวชนจากแหล่งบริโภคแอลกอฮอล์ เช่น บาร์ ซุ้มเหล้าข้างถนน และสถานที่เต้นรำ อาสาสมัครเยาวชนจะต้องผ่านการคัดกรอง (ภาคผนวก A) เพื่อพิจารณาสถานะการดื่ม และเลือกจากการพูดคุยได้ง่าย และความสะดวกใจของพวกเขาในการให้ข้อมูล

ระยะที่ 2 :เราจะทำการสรรหาประชากรกลุ่มย่อย 2 กลุ่มแยกกัน สำหรับกลุ่มย่อยที่ใช้ยาบ้า (n=300) เราจะใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสโนว์บอลในพื้นที่เป้าหมายที่ทราบว่าว่าเป็นแหล่งของเยาวชน ผ่านองค์กรชุมชนที่เคยติดต่อในการวิจัยของเราก่อนหน้านี้ การสรรหาจะเกิดขึ้นในตัวเมืองเชียงใหม่และอำเภอใกล้เคียง และดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของโครงการวิจัย การสรรหากลุ่มย่อยบุคคลทั่วไป (n=300) จะสรรหา ณ สถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เราได้ระบุไว้ระหว่างการดำเนินการศึกษาในระยะที่ 1 โดยใช้วิธีการที่ปรับปรุงมาจากวิธีการสรรหาอาสาสมัครในแหล่งบันเทิง( venue-based)

เพื่อที่เราจะทำการสรรหาตัวอย่างกลุ่มย่อยที่เป็นยาวชนทั่วไป (n=300) เราจะเริ่มด้วยการประเมินแบบรวดเร็ว( Rapid assessment) เราจะสัมภาษณ์เยาวชน 25 คนในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรวมของประชากรอย่างหนาแน่น 4 แห่ง( เช่น ตลาดถนนคนเดิน ห้างสรรพสินค้า และบริเวณรอบมหาวิทยาลัย) จะทำการทาบทามกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่ 5 ซึ่งน่าจะมีอายุระหว่าง 18-25 ปี เพื่อขอให้พวกเขาบอกชื่อสถานที่ดื่มแอลกอฮอล์ที่พวกเขานิยม 5 อันดับแรกของสถานที่ดื่มแอลกอฮอล์แต่ประเภทใน 5 ประเภท(ผับ/บาร์ ดิสโก้เทค คาราโอเกะ ร้านเหล้าตองและภัตราคาร) จากการศึกษาวิจัยในชุมชนของเราที่ผ่านมา สถานที่ดื่มแอลกอฉอล์ 5 ประเภทเหล่านี้มีความจำเพาะและเป็นการแบ่งกลุ่มที่มีความหมาย ทั้งหมดแล้วเราจะเข้าไปสำรวจในสถานที่ดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นที่นิยมของกลุ่มเป้าหมาย 25 อันดับจากคนที่ตอบ 100 คน ทำให้ได้รายชื่อ 2500 ชื่อ หลังจากนั้นเราจะนำข้อมูลที่ได้มาใส่ตารางวิเคราะห์และทำการเลือก 5 อันดับแรกของสถานที่ดื่มแอลกอฮอล์แต่ละประเภท ผลรวมทั้งหมคเป็น 25 แห่ง เราจะไปทำการนับผู้ใช้บริการที่พิจารณาแล้วน่าจะเป็นประชากรที่เราสนใจตามสถานที่ดื่มแอลกอฮอล์แต่ละแห่ง เราจะคำนวณจำนวนเฉลี่ยของลูกค้าของสถานที่ดื่มแอลกอฮอล์แต่ละแห่งจากการไปนับผู้ใช้บริการที่สถานที่นั้น 2 ครั้ง แล้วหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างสำหรับสถานที่ดื่มแอลกอฮอล์แต่ละแห่งตามสัดส่วนของจำนวนเฉลี่ยของลูกค้าของแต่ละสถานที่
ระหว่างที่ทำการสังเกตณ์ เราจะค้นหาเยาวชนผู้ที่จะมาเป็นผู้สรรหาอาสาสมัคร( Peer recruiter) เยาวชนที่จะมาช่วยหาอาสามัครจะเป็นผู้ที่เราสังเกตเห็นว่าเป็นลูกค้าประจำหรือพนักงานที่คุ้นเคยกับกลุ่มลูกค้า หลังจากการสังเกตที่สถานที่ดื่มแอลกอฮอล์สองสามครั้ง เราจะเลือกเยาวชนที่ช่วยสรรหาอาสาสมัคร 1 คน ต่อสถานที่ดื่มแอลกอฮอล์ 1แห่งรวมทั้งหมด 25 คน เยาวชนผู้ช่วยสรรหาอาสาสมัครแต่ละคนจะเข้าร่วมการอบรมครึ่งวัน เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของโครงการวิจัย การปกป้องอาสาสมัครของโครงการวิจัย กระบวนการสรรหาอาสาสมัคร( เช่น การดำเนินการทาบทามอาสาสมัครตามบทพูด การจัดเก็บชื่อเล่นและหมายเลขโทรศัพท์) การติดต่อกับเจ้าหน้าที่โครงการวิจัยอย่างต่อเนื่องระหว่างการสรรหา เจ้าหน้าที่ของโครงการวิจัยจะเป็นผู้อบรมเรื่องดังกล่าว

เมื่อได้รับการอบรมแล้วเยาวชนผู้ช่วยสรรหาอาสาสมัครจะทาบทามผู้ซึ่งพิจารณาแล้วน่าจะมอายุเหมาะสมกับการเป็นอาสาสมัคร โดยใช้บทพูดในการสรรหาอาสาสมัคร (ภาคผนวก F) ซึ่งจะให้คำอธิบายอย่างง่ายๆเกี่ยวกับโครงการวิจัย หากสนใจพวกเขาจะได้รับการขอให้บอกเล่น(คนไทยทุกคนจะมีชื่อเล่น)และหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่(ประชาชนทุกคนจะมีโทรศัพท์นี้) เยาวชนผู้ช่วยสรรรหาอาสาสมัครจะโทรศัพท์หาเจ้าหน้าที่เพื่อบอกรายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ในวันราชการวันถัดไป เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ติดต่อคนเหล่านั้นและทำการคัดกรองเพื่อรับเข้าร่วมโครงการวิจัย เจ้าหน้าที่จะฉีกรายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์เป็นเศษเล็กๆทิ้งไป เยาวชนผู้ช่วยสรรรหาอาสาสมัครจะทำลายรายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ทันที่ที่ได้ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่โครงการวิจัยแล้ว

เยาวชนผู้ช่วยสรรรหาอาสาสมัครจะได้รับค่าตอบแทน 50 บาทต่อผู้ที่มีคุณสมบัติ จะเป็นอาสาสมัคร ได้ 1 คน จำนวนสูงสุดที่เยาวชนผู้ช่วยสรรรหาอาสาสมัคร 1 คนจะทำการสรรหาอาสาสมัครมากว่าจำนวนที่คาดว่าจะได้จากแต่ละแห่ง 20% เราได้ตั้งขอบเขตด้านบนเพื่อลดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้น้อยลง ยกตัวอย่าง หากเราเสนอให้สรรหาอาสาสมัคร 20 คนตามที่กำหนด พวกเขาจะได้รับค่าตอบแทนในการสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะเป็นอาสาสมัครได้ขึ้นไปถึง 24 คนหรือ 1200 บาท ส่วนที่เพิ่ม 20%มีที่มาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของเรา เราได้มีการพูดคุยกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับเราจะจ่ายค่าตอบแทนแก่เยาวชนที่ช่วยสรรหาอาสาสมัครอย่างไร ทางเลือกหนึ่งที่เราได้พิจารณาคือจ่ายเป็นรายชั่วโมง แต่จากประสบการณืของเราจากการโครงการวิจัยในกลุ่มประชากรคล้ายกันนี้(IRB#H.34.01.09.14.B1) เราเคยจ้างเยาวชนผู้ช่วยสรรหาอาสาสมัคร ซึ่งในตอนแรกเราจ้างเป็นรายชั่วโมง พบว่าการทำเช่นนี้ไม่ทำให้หาอาสาสมัครได้มากนัก การสรรหาอาสาสมัครดีขึ้นอย่างมากเมื่อพวกเขาได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ที่มีคุณสมบัติจะเป็นอาสาสมัครได้

ผลการดำเนินงาน:

ผลการตรวจหนองในเทียมในกลุ่มตัวอย่าง

Post 6839 Views