โครงการวิจัย.

1111111111


ชื่อโครงการวิจัย :
โครงการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและความชุก
ของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดในกรุงเทพมหานคร
และจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ด้วยวิธี RDS

เครือข่ายวิจัย (รหัสโครงการ) : RDS
หัวหน้าโครงการวิจัย :
    – นายแพทย์โกวิท ยงวานิชจิต
    – นายแพทย์อภินันท์ อร่ามรัตน์

หัวหน้าโครงการวิจัยร่วม :
    – ทัศนัย วงค์จักร

หน่วยงานที่ร่วมวิจัย :
    – สำนักระบาดวิทยา  กระทรวงสาธารณสุข  นนทบุรี ประเทศไทย
    – สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร  ประเทศไทย
    – บ้านโอโซน ประเทศไทย
    – สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
    – ศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข นนทบุรี ประเทศไทย
แหล่งทุน,ผู้ให้ทุน :
ศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข นนทบุรี ประเทศไทย
สถานที่ทำการวิจัย (รวมต่างประเทศ) :
    – ดำเนินงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้สถานที่ของหน่วยงานทางการแพทย์สังกัดกรุงเทพมหานคร และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้สถานที่ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รูปแบบของงานวิจัย :
เป็นการดำเนินการสำรวจแบบภาคตัดขวางในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดในพื้นที่ 2 จังหวัด ใน

ประเทศไทย คือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่ โดยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ RDS
ซึ่ง เป็นวิธีการแบบลูกโซ่  ใช้สำหรับเลือกตัวอย่างในกลุ่มประชากรที่เข้าถึงได้ยาก โดย RDS สามารถลดความลำเอียงในการคัดเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ทั่วไปโดยการให้ค่า ตอบแทนสองครั้ง จากการสัมภาษณ์และการช่วยเป็นผู้คัดเลือกเพื่อนเพื่อเข้าเจ้าหน้าที่จะทำการ คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นตัวตั้งต้นจากประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้มีการติดต่อกันมาก่อนหน้า แล้ว (เริ่มแรก คัดเลือกโดยเจ้าหน้าที่) ตัวตั้งต้นจะได้รับค่าตอบแทนเมื่อเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ (ค่าตอบแทนครั้งแรก) และจะได้รับค่าตอบแทนอีกครั้งหนึ่งเมื่อคัดเลือกกลุ่มเพื่อนมาเข้าร่วม โครงการ (ค่าตอบแทนครั้งที่ 2) วัตถุประสงค์ของการให้ค่าตอบแทนครั้งที่สองคือเพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้า ร่วมเกิดความสนใจในการช่วยคัดเลือกสมาชิกรุ่นต่อไป  โดยจะมีการจำกัดจำนวนการแนะนำเพื่อนสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ  ซึ่งจะง่ายต่อการกำหนดความยาวของห่วงลูกโซ่และความลึกในการเจาะถึงเครือข่าย กลุ่มประชากรเป้าหมาย  เมื่อตัวตั้งต้นเลือกเพื่อนมาจากเครือข่ายของตนเองและผ่านการสัมภาษณ์ เรียบร้อยแล้ว  จะถือว่ารุ่นที่ 1 เสร็จสมบูรณ์  ในทำนองเดียวกัน  ผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 1  ก็จะกลายเป็นผู้คัดเลือก  ซึ่งทำหน้าที่เลือกกลุ่มสมาชิกมาเข้าร่วมการสำรวจต่อไป
ขนาดการประชาการการวิจัย :
โครงการวิจัยจะใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด 750 คน ในกรุงเทพฯ และ
300 คนในจังหวัดเชียงใหม่

ระยะเวลาในการวิจัย : 6 เดือน

ระยะเวลาเริ่มดำเนินงาน :  
(เริ่ม intervention หรือ เริ่ม enroll อาสาสมัคร) : มี.ค 2009 – ก.ย. 2552


วัตถุประสงค์ของการวิจัย :
(วัตถุประสงค์หลัก รอง)

1. เพื่อ คาดประมาณจำนวนผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด และสัดส่วนผู้ที่ได้รับการบำบัดและผู้ที่ไม่ได้รับการบำบัดในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่
2. เพื่อคาดประมาณความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีชนิดฉีดในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่
3. เพื่อ ประเมินความชุกของพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและการแพร่เชื้อใน กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความชุกการติดเชื้อเอชไอวี
ความสำคัญ :
การสำรวจโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ RDS เพื่อคาดประมาณจำนวน และความชุกการติด
เชื้อ เอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่ สามารถทำให้คาดประมาณที่เที่ยงตรงมากขึ้นสำหรับใช้ในโมเดลการคาดประมาณแนว โน้มการติดเชื้อเอชไอวีในอนาคต   และใช้พัฒนาโครงการดูแลและป้องกันในประชากรกลุ่มนี้ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ผลการศึกษา :
โครงการ วิจัยมีอาสาสมัครที่เป็นผู้ฉีดยาเสพติด 746 คนในกรุงเทพฯ และ 309 คนในเชียงใหม่ อาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นชาย (83% ทั้งในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่);อาสาสมัครในกรุงเทพฯ มีอายุมากกว่า [3% < 25 ปี (95%CI (CI): 1%-5%)] อาสาสมัครในเชียงใหม่ [43% < 25 ปี (CI:32%-51%)] ยาเสพติดที่ฉีดในเดือนที่ผ่านมาได้แก่เฮโรอีน (34% ทั้งในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่), ยาบ้า (63% ในกรุงเทพฯ; 32% ในเชียงใหม่), และ midazoiam (42% ในกรุงเทพ; 4% ในเชียงใหม่) มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 14% (CI: 10%-18%) ในกรุงเทพฯ และ 66% (CI: 57%-74%) ในเชียงใหม่ และมีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในการฉีดครั้งที่ผ่านมา 5% (CI: 3%-8%) ในกรุงเทพฯ และ 48% (CI: 39% – 57%) ในเชียงใหม่ มีความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี 24% (CI:20%-30%) ในกรุงเทพฯ และ 11% (CI:7%-17%) ในเชียงใหม่

สรุปผล :
ผู้ใช้ ยาเสพติดชนิดฉีดยังคงมีพฤติกรรมการฉีดยาเสพติดที่เสี่ยงและมีความชุกในการ ติดเชื้อเอชไอวีสูง  ความชุกของพฤติกรรมเสี่ยงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามสถานที่ การฉีดยาเสพติดชนิดอื่นนอกเหนือจากเฮโรอีนถือเป็นเรื่องปกติ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการให้การแทรกแซงโดยมุ่งเน้นที่พฤติกรรมดังกล่าว ควรพิจารณาใช้การแทรกแซงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพเช่น การแลกเข็มฉีดยา และ การแทรกแซงจำเป็นต้องมุ่งเป้าไปที่พฤติกรรมที่มีความแตกต่างตาม ภูมิศาสตร์/พื้นที่

 

เอกสารเผยแพร่ :

Post 2024 Views