คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน

(Community Advisory Board : CAB)

คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน (Community Advisory Board – CAB) ประกอบด้วยบุคคลหรือผู้แทนผู้มีส่วนได้เสียที่ให้คำปรึกษาอย่างเป็นอิสระ เป็นผู้เอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนในกระบวนการวิจัย มีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอกับผู้แทนของทีมวิจัย บอกกล่าวผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนเกี่ยวกับงานวิจัยที่ถูกนำเสนอและที่กำลังดำเนินการอยู่ และให้ความคิดเห็นต่อทีมวิจัยเรื่องบรรทัดฐานและความเชื่อของท้องถิ่น ตลอดจนมุมมองและความกังวลต่างๆของท้องถิ่นต่อโครงการวิจัย

คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนที่ดูแลผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ผู้แทนองค์กรอิสระ  ผู้แทนเยาวชน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการวิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์   โครงการวิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับทุนวิจัยจาก US NIH หรือทุนวิจัยจากแหล่งอื่น ที่ดำเนินการภายใต้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้คณะกรรมการเป็นตัวเชื่อมระหว่างชุมชนและกลุ่มเป้าหมายในชุมชนกับทีมวิจัยในเรื่องต่างๆ เช่น ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักการวิจัย ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ใหม่ๆ ของโรคเอดส์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการวิจัยที่จะดำเนินการในชุมชน แก้ปัญหาความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโครงการวิจัยที่จะดำเนินงานในชุมชน
  2. ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการที่จะดำเนินการ ทั้งด้านจริยธรรม วิธีการ แบบฟอร์มที่ใช้ และสิทธิประโยชน์ของผู้เข้าร่วมวิจัย
  3. ช่วยกระจายข้อมูลที่ถูกต้องแก่สื่อมวลชน

บทบาทหน้าที่

  • ให้แนวคิด ข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆ ของชุมชน
  • ให้แนวคิด คำแนะนำ ในการร่างแบบคำยินยอม
  • ให้แนวคิดวิธีการลดการมีพฤติกรรมเสี่ยงในขณะที่ดำเนินการวิจัย
  • แนะนำวิธีการที่จะเผยแพร่ข้อมูลและผลการวิจัยที่ถูกต้องให้ชุมชนได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง
  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยแก่ชุมชนและให้ข้อมูลด้านชุมชนแก่ทีมวิจัย
  • สร้างความเชื่อถือระหว่างนักวิจัยและชุมชน
  • รักษาความเสมอภาค ความเป็นธรรมและสิทธิของอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัย

กิจกรรม

    • คณะกรรมการฯจะประชุมเป็นประจำทุก 3 เดือน เพื่อรับฟังความก้าวหน้าของโครงการวิจัยร่วมทั้งให้ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแก่นักวิจัย ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการวิจัย
    • ร่วมให้ความคิดเห็นต่อโครงร่างการวิจัย รูปแบบการวิจัย หนังสือขอความยินยอม หรือสื่อต่างๆที่ใช้ในโครงการวิจัย ตามวาระโอกาส
    • นำเสนอบทความ สาระความรู้เกี่ยวกับแง่คิด มุมมองต่องานวิจัย ผ่านสารชุมชนสัมพันธ์
    • เป็นตัวแทนสถาบันฯในการเข้าร่วมการประชุมกับหน่วยงานอื่น ตามวาระโอกาส