กิจกรรมวิชาการ.

Picture6
InnoTech Team จาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมนำเสนอ Proposal โครงการย่อยออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง ที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
——
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ก้องภู นิมานันท์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมนำเสนอ Proposal โครงการย่อยออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง ประจำปี 2565 คณาจารย์ที่ปรึกษาเข้าร่วม ผ่าน ZOOM MEETTING ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น และโครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ร่วมกับธนาคารออมสิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และบริการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการของกลุ่มองค์กรชุมชนให้มีศักยภาพมีมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้นำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้จริงกับชุมชน
โดยในพิธีเปิดกิจกรรมได้รับเกียรติจาก นางสาววิลานี แซ่แต้ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และองค์กรชุมชน นายสุรพล โสมะภีร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ คุณนพวรรณ ฟูติตระกูล ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณ นคร สุวรรณกาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค8 หน่วยสถาบันการเงินชุมชน กล่าวทักทายในนามของธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ และแนะนำโครงการฯ
โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง ประจำปี 2565 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ประกอบการ จำนวน 5 ชุมชน ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเจษฎาหนังปอง โดยกลุ่มนักศึกษา InnoTech Team . มี ดร.คงศักดิ์ บุญยะประนัย จากสถาบันวิจัยวิทยาศาตร์สุขภาพเป็นที่ปรึกษา
กลุ่มที่ 2 กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านแอ่น โดยกลุ่มนักศึกษาช้างน้อยหลากสี มีดร.เผชิญวาส ศรีชัย จากสถาบันวิจัยสังคมเป็นที่ปรึกษา
กลุ่มที่ 3 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่ตาด โดยกลุ่มนักศึกษามากับหรีด มีผศ.ดร. เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ และ ผศ.ดร.ภัทวรา ปฐมรังษิยังกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตรเป็นที่ปรึกษา
กลุ่มที่ 4 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟดอยขุนช่างเคี่ยน โดยกลุ่มนักศึกษา ThoRung(โต้รุ่ง) มีผศ.ดร.พิชญลักษณ์ พิชญกุล คณะบริหารธุรกิจเป็นที่ปรึกษา
กลุ่มที่ 5 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง โดยกลุ่มนักศึกษาSustainability มีผศ.ดร.สุบัน พรเวียง คณะศึกษาศาสตร์เป็นที่ปรึกษา
ทั้งนี้ ในโครงการจะมีการประกวดหาผู้ชนะจากผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อไปประกวดผลงานจากโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง ในระดับประเทศต่อไป
Picture1 Picture2 Picture3 Picture4 Picture5 Picture6 Picture7

Post 643 Views