โครงการวิจัย.


ชื่อโครงการวิจัย : การศึกษาแบบสุ่มระยะที่ 3 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมให้ความรู้เพื่อนโดยมุ่งใช้เครือข่ายเพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อ เอช ไอ วี ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดและสมาชิกในเครือข่าย
ฉบับที่ 2.0 วันที่ 23 ตุลาคม 2546
Final Version วันที่: 31 มกราคม 2549

เครือข่ายวิจัย (รหัสโครงการ) : HPTN 037

คณะผู้กำหนดแบบแผนวิจัย :
ประธานกรรมการ

ดร. คาร์ล แลทคิน มหาวิทยาลัย จอห์นส์ ฮอพกิ้นส์ วิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์ จอห์นส์ ฮอพกิ้นส์ บลูมเบิร์ก
บัลติมอร์ แมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา

ประธานกรรมการร่วม
– ดร. เดวิด ดี เซเลนตาโน มหาวิทยาลัย จอห์นส์ ฮอพกิ้นส์ วิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์ จอห์นส์ ฮอพกิ้นส์ บลูมเบิร์ก
บัลติมอร์ แมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา
– ดร. เดวิด เมทซ์เจอร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ศูนย์การศึกษาการเสพติด ฟิลาเดลเฟีย เพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา

นักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย
– ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระ ศิริสันธนะ
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์อภินันท์ อร่ามรัตน์
– ดร. น้ำทิพย์ ศรีรักษ์
– ทัศนัย วงศ์จักร

นักวิจัยมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอพกินส์ สหรัฐอเมริกา
– ดร. ซูซาน เชอร์แมน

– นายแพทย์ วู มิน ควาน
– ดร.สุรินดา กาวิชัย

ตัวแทนของการศึกษาที่ฟิลาเดลเฟีย
– แอนเน็ต เดวิส-โวเจล

– แวเลรี่ ซิมพ์สัน

หน่วยงานที่ร่วมวิจัย :
– มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอพกินส์

– มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ฟิลาเดลเฟีย
– มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– Family Health International
– The Statistical Center for HIV/AIDS Research & Prevention

ผู้ให้ทุน :
– สถาบันโรคติดต่อและโรคภูมิแพ้แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา
– สถาบันแห่งชาติเพื่อสุขภาพเด็กและการพัฒนามนุษย์ สหรัฐอเมริกา
– สถาบันแห่งชาติเรื่องการใช้ยาเสพติด สหรัฐอเมริกา
– สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา
– สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา

รูปแบบการศึกษา :
เป็นการศึกษาระยะที่ 3 ศึกษาในหลายพื้นที่ แบ่งเป็นสองกลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง

ประชากรในการศึกษา :
ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดที่ไม่ติดเชื้อ เอช ไอ วี (อาสาสมัครตัวตั้งต้น) และบุคคลที่ได้รับการระบุโดยอาสาสมัครตัวตั้งต้น
แต่ละคนว่าเป็นเครือข่ายทางเพศสัมพันธ์ หรือทางการใช้ยาเสพติดของเขา (สมาชิกเครือข่าย)
ในฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา และในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

ขนาดการศึกษา :
660 เครือข่าย ประกอบด้วยอาสาสมัครตัวตั้งต้น 660 คน และสมาชิกเครือข่ายประมาณ 1,980 คน (เฉลี่ยแล้วมี สมาชิก
เครือข่าย 3 คนต่อ อาสาสมัครตัวตั้งต้น 1 คน) รวมอาสาสมัครทั้งหมดประมาณ 2,640 คน

โปรแกรมการให้ความรู้โดยเพื่อนและการให้คำปรึกษา (สิ่งแทรกแซงพฤติกรรม):
อาสาสมัครตัวตั้งต้นจะถูกสุ่มในอัตรา 1:1 เพื่อเข้าร่วมการศึกษาหนึ่งในสองข้างดังนี้

กลุ่มการศึกษา สิ่งแทรกแซงพฤติกรรม
อาสาสมัครตัวตั้งต้น (Index) สมาชิกเครือข่าย (Network)
กลุ่มทดลอง
อาสาสมัครตัวตั้งต้นที่ถูกสุ่ม ได้รับการอบรม
n~330 เครือข่าย
(330 อาสาสมัครตัวตั้งต้น และสมาชิกเครือข่ายประมาณ 990 คน)
การให้คำปรึกษา HIV ระดับสูง และการตรวจเลือด รวมทั้ง จัดคาบเพื่อนผู้ให้คำปรึกษาโดยมุ่งให้แก่เครือข่ายของตนคาบละ 2 ชั่วโมง 6 ครั้ง ในช่วงอาทิตย์ที่ 1 ถึง 4
และคาบเสริมในเดือนที่ 6 และ 12
การให้คำปรึกษา HIV ระดับสูง
และการตรวจเลือด
กลุ่มควบคุม
อาสาสมัครตัวตั้งต้นที่ถูกสุ่ม ไม่ได้รับการอบรม
n~330 เครือข่าย
(330 อาสาสมัครตัวตั้งต้น และสมาชิกในเครือข่ายประมาณ 990 คน)
การให้คำปรึกษา HIV ระดับสูง
และการตรวจเลือด
การให้คำปรึกษา HIV ระดับสูง
และการตรวจเลือด

คู่มือที่ใช้ในการอบรม :
ฉบับภาษอังกฤษ www.hptn.org/research_studies/HPTN037InterventionManual.asp
ฉบับภาษาไทย ดาวน์โหลดไฟล์ที่ท้ายเนื้อหา

ระยะเวลาในการศึกษา :
รวมทั้งสิ้นประมาณ 48 เดือน การรับอาสาสมัครเข้าโครงการวิจัยใช้เวลาประมาณ 35 เดือน อาสาสมัครจะได้รับการติดตาม
ผลขั้นต่ำสุด 12 เดือน และอย่างมากสุด 30 เดือน

เริ่มการศึกษา :
ระหว่าง 30 มีนาคม 2547 – ธันวาคม 2549

วัตถุประสงค์เบื้องต้น :
เพื่อประเมินว่าโปรแกรมการให้ความรู้โดยเพื่อนและการให้คำปรึกษาจะสามารถลดการแพร่เชื้อเอช ไอ วี ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพ
ติดชนิดฉีดและสมาชิกเครือข่ายยาเสพติดและเพศสัมพันธ์โดยมีผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่

วัตถุประสงค์ทุติยภูมิ :
1.เพื่อประเมินว่าโปรแกรมการให้ความรู้โดยเพื่อนและการให้คำปรึกษาทำให้พฤติกรรมการฉีดยาและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศตามที่รายงานในอาสาสมัครตัวตั้งต้น(Index) และ/หรือสมาชิกเครือข่ายของเขาลดลงหรือไม่
2.เพื่อประเมินว่าโปรแกรมการให้ความรู้โดยเพื่อนและการให้คำปรึกษาช่วยเปลี่ยนบรรทัดฐานการใช้สารเสพติด และพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เอช ไอ วี ของเครือข่ายหรือไม่
3.เพื่อประเมินว่าผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยเพื่อนและการให้คำปรึกษาต่อพฤติกรรมการฉีดและพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อเชื้อ เอช ไอ วี แตกต่างกันหรือไม่ระหว่างอาสาสมัครตัวตั้งต้น (Index) กับเครือข่ายของเขา หรือความแตกต่างระหว่างข้างการศึกษา
4.เพื่อประเมินว่าผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยเพื่อนและการให้คำปรึกษาต่อพฤติกรรมที่ระบุว่าเป็นสื่อกลางที่สำคัญของการแทรกแซง คล้ายคลึงกันหรือไม่ในพื้นที่ทั้งสองของการศึกษา

พื้นที่ในการศึกษา :
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย และ ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา

ผลการศึกษา :
การศึกษาประสิทธิภาพของการให้ความรู้เพื่อนในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีในเครือข่ายทางเพศสัมพันธ์และทางการใช้ยาเสพติดในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย และ รัฐฟิลาเดเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ถูกออกแบบเพื่อทดสอบผลของการติดเชื้อ เอช ไอ วี และพบว่ามีการติดเชื้อในอัตราที่ต่ำ จึงได้หยุดการวิจัยก่อนครบเวลาที่กำหนดไว้ โครงการวิจัยได้รับอาสาสมัครทั้งหมด 414 เครือข่าย โดยมีอาสาสมัครทั้งหมด 1,123 คน อาสาสมัครในกลุ่มทดลองจะได้รับการอบรมให้ความรู้ 6 คาบและคาบกระตุ้นอีก 2 คาบ และอาสาสมัครทุกคนจะได้รับการตรวจหาเชื้อ เอช ไอ วี และคำปรึกษา พร้อมทั้งได้รับการติดตามทุก 6 เดือนเป็นเวลา 30 เดือน อาสาสมัครเกิดการติดเชื้อเอชไอวี 10 รายจาก 2 กลุ่มการศึกษา (กลุ่มละ 5 ราย) อาสาสมัครจำนวนมากรายงานว่า มีการลดพฤติกรรมเสี่ยงในการฉีดยาเสพติดลดลงอย่างมากตั้งแต่การสำรวจพฤติกรรมพื้นฐานขั้นต้นจนถึงการติดตามในทั้งสองกลุ่มในพื้นที่วิจัยทั้งสองแห่ง อาสาสมัครตัวตั้งต้น (Index) ในกลุ่มทดลอง มีการพูดคุยเกี่ยวกับความเสี่ยงของการติดเชื้อ เอช ไอ วี มากขึ้นหลังจากได้รับการอบรมจากคู่มือ การให้ความรู้โดยเพื่อนและการให้คำปรึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับอาสาสมัครตัวตั้งต้น (Index) ในกลุ่มควบคุม แต่ไม่ปรากฏการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การลดพฤติกรรมเสี่ยงในการฉีดยาเสพติดที่สังเกตพบคือ 37%, 20% และ 26% มีการลดการใช้สำลี น้ำล้าง และ ภาชนะผสมยาร่วมกันตามลำดับ และ 24% ลดการใช้เข็มฉีดยาต่อจากผู้อื่น จากการวิเคราะห์พบว่า ในฟิลาเดเฟียมีรูปแบบการลดพฤติกรรมเสี่ยงในการฉีดยาเสพติด และในพื้นที่วิจัยทั้งสองแห่งพบว่าการอบรมจากคู่มือมีผลต่ออาสาสมัครแกนนำที่เป็นผู้ฉีดยาเสพติด ให้มีบทบาทการพูดเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมเสี่ยงในชุมชน อย่างไรก็ตาม การอบรมจากคู่มือไม่ได้มีผลต่อพฤติกรรมทั้งหมดจากการรายงานด้วยตนเองของอาสาสมัครในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และถึงแม้ว่าจะสังเกตพบการลดลงของพฤติกรรมเสี่ยงในการฉีดยาเสพติด แต่ก็ยังไม่พบประสิทธิภาพของการลดความเสี่ยงโดยรวมแต่อย่างใด

เอกสารงานวิจัย :
1.Vongchak Tassanai , Kawichai Surinda , Sherman Susan , Celentano David D., Sirisanthana Thira, Latkin Carl , Wiboonnatakul Kanokporn , Srirak Namtip, Jittiwutikarn Jaroon, Aramrattana Apinun (2005). The influence of Thailand’s 2003 ‘war on drugs’ policy on self-reported drug use among injection drug users in Chiang Mai, Thailand. International Journal of Drug Policy 16 (2005) 115–121.
http://www.ijdp.org/article/S0955-3959(04)00132-X/abstract

2.Latkin CA, Donnell D, Metzger D, Sherman S, Aramrattna A, Davis-Vogel A, Quan VM, Gandham S, Vongchak T, Perdue T, Celentano DD. (2009) The efficacy of a network intervention to reduce HIV risk behaviors among drug users and risk partners in Chiang Mai, Thailand and Philadelphia, USA . Social Science & Medicine, 68 (4):740-748. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?cmd=Retrieve&db=PubMed&dopt=Citation&list_uids=19070413

3.Latkin C, Donnell D, Celentano DD, Aramrattna A, Liu TY, Vongchak T, Wiboonnatakul K, Davis-Vogel A, Metzger D. (2009) Relationships between social norms, social network characteristics, and HIV risk behaviors in Thailand and the United States. Health Psychology 28 (3):323 329. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?cmd=Retrieve&db=PubMed&dopt=Citation&list_uids=19450038

Post 1573 Views