สิ่งส่งตรวจของอาสาสมัครจะถูกเก็บและนำส่งมายัง SPU เพื่อดำเนินการแยกส่วนประกอบ จัดเก็บ และจัดส่งไปยังห้องปฏิบัติการต่างๆ ตามข้อกำหนดของแต่ละโครงการวิจัย ตามรายละเอียดดังนี้

1. Specimen Processing

image001

SPU  มีระบบการรับเข้าสิ่งส่งตรวจโดยใช้ Laboratory Data Management System (LDMS) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการสิ่งส่งตรวจในโครงการวิจัยที่อยู่ ใน NIH HIV/AIDS networks spu-lab1 สิ่งส่งตรวจ (Primary tube) จะถูกนำไปแยกส่วนประกอบตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดในแต่ละโครงการวิจัย เช่น Dry blood spot, serum, plasma และ PBMC โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแยก viable PBMC นั้น Cell viability และ Cell yields จะต้องอยู่ในช่วงที่กำหนด ซึ่งบุคคลากรที่จะสามารถปฏิบัติงานแยก PBMC ของได้ จะต้องผ่านการทำ Proficiency testing จาก Immunology Quality Assessment Center: IQA (Duke Human Vaccine Institute) ทุก 3 เดือน หรือ ผ่านการทำ Proficiency testing จากบุคลากรที่ผ่านการทำ Proficiency testing จาก IQA


 2. Specimen Storage spu-lab2 ส่วนประกอบของสิ่งส่งตรวจ (Products) จะถูกจัดเก็บไว้ในอุณหภูมิและสภาวะที่กำหนดในแต่ละโครงการวิจัย ซึ่ง SPU มีตู้สำหรับจัดเก็บตามอุณหภูมิดังนี้ คือ ตู้ควบคุมอุณหภูมิ 20 °C, ตู้เย็น 4  °C , ตู้แช่แข็ง -20°C, ตู้แช่แข็ง -70° C และ ถัง Liquid Nitrogen (อุณหภูมิ -196°C) โดยตำแหน่งในการจัดเก็บจะถูกกำหนดและจัดการด้วย LDMS ตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งที่ใช้ในการจัดเก็บจะต้องถูกติดตามและดูแลอุณ ภูมิให้อยู่ในช่วงที่กำหนดตลอด 24 โดยอุปกรณ์ 2 ชนิดที่ทำงานร่วมกัน ได้แก่ Data logger และ Auto dialer และ SPU มีระบบตู้แช่แข็งสำรองในกรณีที่ตู้ที่ใช้งานมีปัญหา ซึ่งสามารถย้ายสิ่งส่งตรวจได้เรียบร้อยภายใน 10 นาที และยังมีระบบไฟฟ้าสำรองในกรณีที่กระแสไฟฟ้าขัดข้อง เพื่อใช้สำรองไฟให้กับตู้แช่ต่างๆ อีกด้วยspu-lab2-1

 


3. Specimen Shipping spu-lab3 SPU มีหน้าที่ในการจัดส่งสิ่งส่งตรวจต่างๆ ไปยังห้องปฏิบัติการอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สิ่งส่งตรวจที่จัดส่งไปยังปลายทางนั้นถูกต้องและมีคุณภาพ การตรวจสอบความถูกต้องจะถูกจัดการผ่านระบบ LDMS เจ้าหน้าที่ SPU ผู้รับผิดชอบเรื่องการบรรจุหีบห่อจะต้องผ่านการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบ เกี่ยวกับกฏระเบียบเพื่อความปลอดภัยในการขนส่งสิ่งส่งตรวจทางอากาศตาม  IATA regulations และจะต้องฝึกอบรมซ้ำทุก 2 ปี การนำส่งสิ่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ นั้นจะเป็นการส่งแบบ ambient และ แบบแช่แข็งโดยใช้น้ำแข็งแห้ง และยิ่งกว่านั้นคือรวมไปถึงการส่ง viable PBMC โดยใช้ถัง Dry Shipper อีกด้วย ซึ่งห้องปฏิบัติการภายในประเทศที่ SPU จัดส่งสิ่งส่งตรวจไป เช่น Clinical Laboratory (RIHES), PHPT Laboratory และ Siriraj Laboratory เป็นต้น และมีการจัดส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการในต่างประเทศ เช่น Biomedical Research Institute   (USA), Duke Human Vaccine Institute (USA) เป็นต้น spu-lab3-2


ผังกระบวนการในการทำงาน image031   สิ่งส่งตรวจของอาสาสมัครของแต่ละโครงการวิจัยที่ถูกเก็บจาก Study Clinic แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ สิ่งส่งตรวจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาสาสมัครซึ่งจะถูกส่งตรงไปยัง Clinical Laboratory และ สิ่งส่งตรวจที่เป็น Research specimens ซึ่งจะถูกส่งมายัง SPU เพื่อแยกส่วนประกอบ จัดเก็บตามสภาวะที่เหมาะสม และจัดส่งไปยังห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตามข้อกำหนดของแต่ละโครงการวิจัย