โครงการวิจัย.

aass

หัวหน้าโครงการ / Project Investigator: 

ศ.นพ.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม

ผู้ร่วมวิจัย / Co Investigator:  

1.หน่วยวิจัยโภชนาการ ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2.หน่วยวิจัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.หน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน   สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4.คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5.สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการผลิตผลเกษตรและการบรรจุ  สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

6.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7.คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ / Research objectives:

1.เพื่อสำรวจความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพจากถั่วเน่าชีวภาพสำหรับทุกกลุ่มวัย

2.เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตหัวเชื้อถั่วเน่าชีวภาพบริสุทธิ์ชนิดผง และการปรับปรุงกระบวนการผลิตถั่วเน่าชีวภาพตามหลักการ GMP

3.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วเน่าชีวภาพเสริมคุณค่าทางโภชนาการตามความต้องการในผู้รักสุขภาพ

4.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเจลจากถั่วเน่าชีวภาพ เพื่อผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาด้านการกลืนและการบริโภค

5.เพื่อศึกษาผลของการรับประทานอาหารเจลถั่วชีวภาพต่อสภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วย มะเร็งที่มีภาวะกลืนลำบาก

สถานที่ดำเนินงานวิจัย / Study sites:

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา กลุ่มวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

รูปแบบงานวิจัย / Study design:

โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ชื่อเรื่อง การผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์ชนิดผงและการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วเน่าที่มีคุณค่าทาง โภชนาการสูงร่วมกับกลุ่มแปรรูปถั่วชีวภาพท่าโป่ง ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

จะทำการพัฒนาการผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์ชนิดผง สำหรับผลิตถั่วเน่า ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วเน่าโดยเทคโนโลยีเชื้อบริสุทธิ์ ทำการปรับปรุง กระบวนการผลิตถั่วเน่าโดยเทคโนโลยีเชื้อบริสุทธิ์ของชุมชนต้นแบบ คือ กลุ่มแปรรูปถั่วชีวภาพท่า โป่ง ต.บ้านแม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ให้ได้ตามหลัก GMP แล้วถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ให้กับชุมชนต้นแบบ

โครงการวิจัยย่อยที่ 2 ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพในรูปแบบไอโซฟลาโวนบาร์สำหรับผู้บริโภคก่อนวัยสูงอายุ

ทำการศึกษากระบวนการผลิตทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ไอโซฟลาโวนบาร์ รวมถึงการทดสอบผู้บริโภค และประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไอโซฟลาโวนบาร์ที่ได้

โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ชื่อเรื่อง  การศึกษาผลของอาหารเจลถั่วชีวภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก

โครงการวิจัยมีขอบเขตงานวิจัยในระยะเวลา 3 ปี โดยระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2561) จะ ทำการศึกษาทางการตลาด ถึงพฤติกรรมการบริโภคและความต้องการของผู้บริโภค และทัศนคติต่อ ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากถั่วเน่ารูปแบบสแนกบาร์และอาหารเจล

Post 2199 Views