โครงสร้างของประเทศไทยในปัจจุบันมีอัตราการเกิดลดน้อยลง และประชากรผู้สูงวัยมีเพิ่มจำนวนมากขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันในเลือดสูง โรคหลอกเลือด โรคหัวใจ ที่เรียกรวมอีกชื่อว่า “โรคติดต่อไม่เรื้อรัง” ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราการเสียชีวิตในคนไทยปัจจุบัน
หน่วยวิจัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเรื่อง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Chronic non-communicable diseases) เพื่อป้องกัน และการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพในประชากรกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง (High risk population) และกลุ่มประชากรที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง (ระยะ I-III) โรคไตวายระยะสุดท้าย (End Stage renal disease ) และกลุ่มประชากรที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ได้งานวิจัยที่พัฒนา หรือปรับเปลี่ยนแนวเวชปฏิบัติ (clinical practice guideline; CPG) หรือนโยบายด้านการแพทย์ หรือสาธารณสุขของประเทศ
- เพื่อให้ได้ข้อมูลระบาดวิทยา สาเหตุ และการดำเนินโรค เพื่อนำไปสู่การควบคุมและลดอุบัติการณ์
- เพื่อให้ได้มาตรการในการเฝ้าระวัง วิธีการหรือแนวทางป้องกันและการรักษา
- เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่จะนำไปสู่การดูแลสุขภาพ ลดการเจ็บป่วย
- เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ทั้งในเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติการ