DSCF3754-1000-2

ชื่อโครงการ:  การศึกษาพัฒนาแนวทางการลดใช้สารเคมีในการเกษตรด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อย่อ:  MT2

หัวหน้าโครงการวิจัยร่วม :

ดร.ธัญภรณ์ เกิดน้อย
ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง

สถานที่วิจัย:
พื้นที่ อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

หน่วยงานผู้สนับสนุนทุนวิจัย:

ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รูปแบบการวิจัย:
เป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ในการสนทนาและการสัมภาษณ์จะเป็นคำถามเกี่ยวกับ ข้อมูลพื้นฐานทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการประกอบอาชีพทางการเกษตร การใช้สารเคมีทางการเกษตร ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน ปัญหาสุขภาพ การรับรู้และความรู้เรื่องสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพ  รวมทั้งมีการตรวจสุขภาพเบื้องต้นประกอบด้วยการวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การตรวจเลือดเพื่อวัดความเสี่ยงการได้รับสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตส์และคาร์บาเมตโดยใช้กระดาษทดสอบ (Reactive paper) ของกระทรวงสาธารณสุข และการตรวจปัสสาวะเพื่อดูการทำงานของไต โดยใช้ Reagent Strips for Urine analysis

วัตถุประสงค์ของการวิจัย:

ศึกษาผลกระทบจากสารกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตที่ใช้และไม่ใช้สารเคมีตลอดห่วงโซ่การผลิตพืชอาหารในพืชหลัก 2 ชนิด ได้แก่ ข้าวและผัก
ศึกษาและพัฒนาแนวทางในการลดใช้สารเคมีในการผลิตข้าวและผัก

จำนวนอาสาสมัครที่คาดว่าจะรับ:

กลุ่มที่ 1 เป็นเกษตรกรในพื้นที่ ที่ปัจจุบันทำการเกษตร และได้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่การเกษตร จำนวน 50 คน
กลุ่มที่2  เป็นเกษตรกรในพื้นที่ ที่ปัจจุบันทำการเกษตร และไม่ได้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่การเกษตร จำนวน 50 คน

ปี พ.ศ.ที่เริ่มดำเนินงาน: 2557

ปี พ.ศ. ที่คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น: 2558

ความสำคัญ:
จากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิตภาคการเกษตรให้เป็นแบบปลอดสารเคมีนั้น พบว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรยังคงต้องพึ่งพาสารเคมีในการผลิต ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ แรงงาน การจัดการแปลงและการจัดการศัตรูพืช รวมไปถึงการตลาด เป็นต้น ชี้ให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาเพื่อลดใช้สารเคมีในการเกษตรนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเชิงระบบ(Systematic approach) โดยการวิเคราะห์สภาพปัญหาตลอดห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานในภาคการเกษตร โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ไขทั้งระบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งเกษตรกร หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และอื่นๆ

Post 9015 Views