การศึกษาพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม

ชื่อโครงการ:

การศึกษาพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโน
ฟอสเฟตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม

ชื่อย่อ:  NT2

หัวหน้าโครงการวิจัยร่วม :  

ดร.ธัญภรณ์ เกิดน้อย
ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง

สถานที่วิจัย:

พื้นที่จังหวัด น่านและเชียงราย

หน่วยงานผู้สนับสนุนทุนวิจัย:

ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รูปแบบการวิจัย:
เป็นการประเมินการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต โดยการวิเคราะห์ปริมาณสาร Dialkylphosphates (DAPs) ในตัวอย่างปัสสาวะด้วยเทคนิค Gaschromatography – Flame photometric detector (GC-FPD) การตรวจเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบ (Reactive paper) การตรวจปัสสาวะเพื่อดูการทำงานของไต โดยใช้ Reagent Strips for Urinalysis (Combistix SG) วิเคราะห์สารเคมีปนเปื้อนในตัวอย่างผลิตผลเกษตรในท้องถิ่น ดิน น้ำ อากาศ และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

วัตถุประสงค์ของการวิจัย:

ศึกษาความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่มีต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ศึกษาและพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต

จำนวนอาสาสมัครที่คาดว่าจะรับ:

จังหวัดละ 400 คน รวม 800 คน

ปี พ.ศ.ที่เริ่มดำเนินงาน:

ตุลาคม 2557

ปี พ.ศ. ที่คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น:

กันยายน 2558

ความสำคัญ:
ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้น มีสาเหตุมาจากการตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร การตกค้างในสิ่งแวดล้อม ทั้งในดิน น้ำ อากาศ สัตว์ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ และสะสมในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งในที่สุดก็ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งที่เป็นผู้ใช้สารเคมี ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี  นอกจากนี้ในปัจจุบันยังก่อผลกระทบเชิงเศรษฐกิจตามมา เนื่องจากการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ จากการตกค้างของสารเคมีในอาหารที่เป็นผลิตผลทางการเกษตร การศึกษาความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จะสามารถนำไปสู่แนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ในอนาคต

Post 6437 Views