IMG_8582

ชื่อโครงการ:

ชื่อภาษาไทย: การพัฒนาชุมชนสุขภาวะจากการลดมลพิษหมอกควัน: โครงการนำร่องในอำเภอแม่
แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อภาษาอังกฤษ: Development of healthy community from mitigation of smog
pollution: A pilot study in Mae Chaem District, Chiang Mai Province

ชื่อย่อ:  SMOG-1

หัวหน้าโครงการ:  ดร.ทิพวรรณ  ประภามณฑล

นักวิจัยร่วม:

รศ.นพ. ชายชาญ โพธิรัตน์        คณะแพทย์ศาสตร์ มช.
อ. ไพสิฐ พาณิชย์กุล            คณะนิติศาสตร์ มช.
ผศ.สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ        คณะเทคนิคการแพทย์ มช.
นายประกาศิต มหาสิงห์            หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ดร.ธัญภรณ์ เกิดน้อย            หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ดร.สุรัตน์  หงส์สิบสอง            หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

สถานที่วิจัย: อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

หน่วยงานผู้สนับสนุนทุนวิจัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยนำร่อง

วัตถุประสงค์ของการวิจัย:
เพื่อพัฒนาชุมชนสุขภาวะจากการลดมลพิษหมอกควันในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม โดยทำการวิจัยนำร่อง ในพื้นที่ซึ่งมีรายงานว่ามีจำนวนจุดความร้อน (hotspots) สูงเป็นประจำซึ่งบ่งบอกว่ามีการเผาในที่โล่งเป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษหมอกควันขนาดใหญ่และรุนแรง โดยเลือกหมู่บ้าน ใน อำเภอแม่แจ่ม 1 หมู่บ้านเพื่อศึกษานำร่อง

จำนวนอาสาสมัครที่คาดว่าจะรับ:
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 80 คน

ปี พ.ศ.ที่เริ่มดำเนินงาน:
1 พฤษภาคม 2557

ปี พ.ศ. ที่คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น:
31 พฤษภาคม 2559

ความสำคัญ:

ตั้งแต่เกิดหมอกควันทั่วภาคเหนือตอนบนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา พบว่ายังเกิดมลพิษหมอกควันทุกปี  มลพิษหมอกควันในระดับมากน้อยยังขึ้นกับการเกิดฝนตกในช่วงดังกล่าวมากกว่าการควบคุมการเผาจากผู้ที่ก่อให้มลพิษหมอกควัน  มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคธุรกิจท่องที่ยวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่แจ่มและอำเภออมก๋อย ซึ่งมีจุดความร้อน (hotspots) มากเป็นอันดับที่ 1 หรือ 2 ซึ่งตรวจจับได้โดยระบบบนดาวเทียมที่บ่งบอกว่ามีการเผาในที่โล่ง รวมทั้งมีพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้เป็นจำนวนมาก และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีปริมาณฝุ่นพีเอ็ม 10 (PM10) ในอากาศในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่สูงเกินมาตรฐานในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม
ต้นปี พ.ศ. 2555 ได้มีการเก็บข้อมูลฝุ่นในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ค่าสูงสุดของฝุ่นพีเอ็ม 10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ในเดือน กุมภาพันธ์ และมีนาคม ที่อำเภอแม่แจ่ม มีค่าเท่ากับ 192 และ 263 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ซึ่งสูงเกินมาตรฐานของประเทศไทย ซึ่งกำหนดไว้ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังพบ สารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน หรือสารพีเอเอช (polycyclic aromatic hydrocarbons or PAHs) บนฝุ่นพีเอ็ม 10 ซึ่งเป็นกลุ่มสารที่มีฤทธิ์ก่อมะเร็ง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการก่อให้เกิดมะเร็งในตลอดช่วงชีวิต (Incremental Lifetime Cancer Risk, ILCR) จากช่วงฤดูฝนที่ไม่มีหมอกควัน ถึง 1.5 – 1.6 เท่า (ทิพวรรณ และคณะ 2556)
ในช่วงเกิดมลพิษหมอกควันในหลายปีที่ผ่านมา พบว่า สถานพยาบาลในพื้นที่ที่มีมลพิษหมอกควันสูง มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจมีอาการกำเริบ ส่งผลให้จำเป็นต้องมารับการพ่นยาที่ห้องฉุกเฉิน และมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาล  อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีการเจ็บป่วยมากขึ้น  นอกจากนี้ ยังไม่มีการศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อม ที่มีความสำคัญต่อการเกิดมลพิษหมอกควันในพื้นที่วิจัย เพื่อนำสู่การสร้างความตระหนักในชุมชน ในการงดการเผาในที่โล่ง อีกทั้งยังขาดการศึกษาในระดับชุมชนต้นแบบที่เป็นชุมชนสุขภาวะจากการลดการเผาในชุมชน
ดังนั้น ในการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในอันตรายต่อสุขภาพจากการเผาในที่โล่งต่างๆ ทั้งในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ป่า  เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาไปสู่ชุมชนสุขภาวะ ซึ่งหมายถึง ชุมชนที่มีความสุขภาพดีทั้งทางด้านกาย จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านสติปัญญา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ รวมทั้งโรคอื่นๆ ในอนาคตได้


โครงการ-3-2IMG_8465-2

Post 4389 Views