มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือระดับมหาวิทยาลัย คือ คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน (Institutional Biosafety Committee – IBC) เป็นคณะกรรมการในระดับมหาวิทยาลัย (CMU – IBC) และระดับส่วนงาน คือ คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพระดับส่วนงาน (IBC ระดับส่วนงาน)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้วางแนวโครงสร้าง IBC ออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
1. คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Institutional Biosafety Committee –IBC) เป็นคณะกรรมการในระดับมหาวิทยาลัย (CMU-IBC) มีกรรมการไม่น้อยกว่า 7 คน และมีองค์ประกอบดังนี้
1) รองอธิการบดีที่รับผิดชอบฝ่ายวิจัย เป็นประธานคณะกรรมการโดยตาแหน่ง
2) กรรมการอย่างน้อย 1 คน ที่สามารถประเมินความปลอดภัยในการทางานเกี่ยวกับจุลินทรีย์
3) กรรมการอย่างน้อย 1 คน ที่สามารถประเมินความปลอดภัยในการดาเนินงานเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม
4) กรรมการอย่างน้อย 1 คน ที่สามารถประเมินความปลอดภัยในการดาเนินงานเกี่ยวกับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม
5) กรรมการอย่างน้อย 1 คน ที่สามารถประเมินความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
6) กรรมการอย่างน้อย 2 คน ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางชีวภาพ (หากมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อในกลุ่ม 3 หรือ large scale)
8) ผู้อานวยการศูนย์บริหารงานวิจัยเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตาแหน่ง
2. คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพระดับส่วนงาน (IBC ระดับส่วนงาน) เป็นคณะกรรมการในระดับส่วนงาน โดยจัดเป็นส่วนงานหรือ กลุ่มส่วนงาน ดังนี้
1) คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์
2) คณะแพทยศาสตร์
3) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
4) คณะอุตสาหกรรมเกษตร
5) คณะเทคนิคการแพทย์ ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์
6) คณะเกษตรศาสตร์
7) คณะสัตวแพทยศาสตร์
มีคณะกรรมการจานวนไม่น้อยกว่า 5 คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาวิจัย เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือเทคโนโลยชีวภาพสมัยใหม่ ในระดับที่สามารถกากับดูแลงานวิจัยให้มีความปลอดภัยต่อผู้วิจัย ประชาชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1) ประธานคณะกรรมการ 1 คน
2) กรรมการ 3 คน
3) กรรมการและเลขานุการ 1 คน