ปัจจุบันการดาเนินงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (Modern Biotechnology) อาทิ งานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms – GMOs) โครงการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือพันธุวิศวกรรม “เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือพันธุวิศวกรรม” รวมถึงโครงการวิจัยที่มีการใช้ “เทคนิครีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (Recombinant Deoxyribonucleic Acid Technology-rDNA)” ได้มีจานวนเพิ่มมากขึ้น
เพราะฉะนั้นการมีกลไกหรือมาตรการในการควบคุมและป้องกันความเสี่ยงอันตรายอันเกิดจากการวิจัยและพัฒนา การเคลื่อนย้าย การจัดการ และการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือพันธุวิศวกรรม ทั้งจุลินทรีย์ พืช เชื้อก่อโรคและสัตว์ จึงมีความจาเป็นอย่างสูง ไม่จากัดเฉพาะการป้องกันการเสี่ยงอันตรายต่อผู้วิจัย ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ แต่รวมถึงความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วยเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และให้แน่ใจว่า recombinant หรือ synthetic nucleic acid molecules หรือสารชีวภาพที่สร้างขึ้นมาถูกนามาใช้งานอย่างปลอดภัย ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้ถูกวิจัย ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ห้องปฏิบัติการมีความปลอดภัย ตลอดจนการวิจัยและทดลองได้ดาเนินไปอย่างเหมาะสม
ดังนั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้มีการวางแผนพัฒนาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้นมา เพื่อดูแลงานวิจัยด้านพันธุวิศวกรรม ตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety guidelines) ของประเทศไทย และได้ดาเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Institutional Biosafety Committee –IBC) เป็นคณะกรรมการในระดับมหาวิทยาลัย (CMU-IBC) รวมถึงได้จัดทาแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติของคณะกรรมการ คณะนักวิจัยและห้องปฏิบัติการต่อไป