โครงการวิจัย.

26_20120904113536.

ชื่อโครงการ    ผลของการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำปานกลางต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ภาวะเมตาบอลิกและรูปร่างในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอชวี ที่มีการกระจายตัวของไขมันผิดปกติและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงจากผลของยาต้านไวรัส: การศึกษานำร่อง

คณะผู้วิจัย  

ที่ปรึกษาโครงการ
ศ. นพ. ธีระ ศิริสันธนะ     สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร. ศักดา พรึงลำภู           สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หัวหน้าโครงการ
รศ. พญ. อัมพิกา  มังคละพฤกษ์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ร่วมวิจัย
สังกัดภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– ผศ. พญ. ศุภวรรณ  บูรญพิร
– พญ. เมตตาภรณ์ พรพัฒน์กุล
– รศ. นพ. ณัฐพงศ์  โฆษชุณหนันท์
– น.ส. ลัดดาวรรณ  ลิ้มพิจารณ์กิจ
– ศ. นพ. ขวัญชัย  ศุภรัตน์ภิญโญ
– ผศ. พญ. รมณีย์ ชัยวาฤทธิ์
– วิไล โคตรฐิติธรรม
สังกัดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– นางโพธิ์ศรี  ลีลาภัทร์

แหล่งทุน            โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

ระยะเวลาที่ทำการวิจัย        ตุลาคม 2556 – ธันวาคม 2557

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ผู้ป่วยเหล่านี้จำนวนหนึ่งเกิดผลแทรกซ้อนของการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ได้แก่ การเกิดไขมันใต้ผิวหนังกระจายตัวผิดปกติ (Lipodystrophy) และ/หรือความผิดปกติของระบบเมตาบอลิก ได้แก่ มีความดื้อต่ออินซูลินหรือระดับน้ำตาลผิดปกติ ไขมันในเลือดผิดปกติ และมีความดันโลหิตสูงซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเหล่านี้ในระยะยาว  การหาปัจจัยต่างๆ ที่เป็นสาเหตุร่วมในการเกิดภาวะเมตาบอลิก เช่น ปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร รวมทั้งวิธีการที่จะป้องกันหรือแก้ไขความผิดปกตินี้ หากได้ผลน่าจะก่อให้เกิดผลดีในการป้องกันหรือการแก้ไขความผิดปกติทางเมตาบอลิกในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี
โครงการนี้จึงต้องการศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ที่มีภาวะ Lipodystrophy และมีไตรกลีเซอไรด์สูงกว่าปกติร่วมด้วย โดยดูผลของการรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำปานกลางเป็นระยะเวลา 3 เดือน ต่อการเปลี่ยนแปลงของ
1. ระดับไตรกลีเซอไรด์และเอชดีแอลโคเลสเตอรอล
2. การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลอินซูลิน ไขมันโคเลสเตอรอล และความดันโลหิต
3. การเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง  รอบเอว  น้ำหนัก  และดัชนีมวลกาย

Post 4205 Views